หน้า:ลอยกระทง - สฐกศ - ๒๕๐๐ a.pdf/5

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

เป็นขนบหรือระเบียบแบบแผนขึ้นไว้ และธรรมเนียมประเพณี เกี่ยวกับเรื่องถือเป็นธรรมเนียมกันมาเท่านั้น ไม่ถือว่า ดีชั่วทางศีลธรรมหรือวางเป็นขนบขึ้นไว้ ประเพณีทั้ง ๓ ลักษณะนี้ ถ้าวิเคราะห์เป็นแนวความรู้ ย่อมมีอยู่ในหนังสือเล่มนี้ แต่จะจัดเข้าอยู่ในลักษณะไหน ก็จะต้องเอาปรัมปราคติของแต่ละถิ่นเข้าประกอบพิจารณาด้วย เพราะแต่ละถิ่นมีสิ่งแวดล้อมทางภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อมทางสังคมไม่เหมือนกันทีเดียว

สิ่งใดที่เรารักและหวงแหน ก็เพราะรู้สึกว่า สิ่งนั้นมีค่าเป็นคุณมีประโยชน์แก่ตัวยเรา จะมีมากมีน้อยเท่าไรก็แล้วแต่จะกำหนดให้เป็นค่าให้แก่สิ่งนั้น ยกตัวอย่าง ชาวไทยที่นับถือพุทธศาสนามีศรัทธาอย่างกล้าแข็งไม่ชอบให้ใครมาลบหลู่ดูหมิ่น ก็เพราะพุทธศาสนาเป็นสิ่งมีค่ายิ่งแก่จิตใจและความเป็นปรกติสุขของตน ชาวไทยที่นับถือศาสนาอื่นก็มีความรู้สึกเห็นคุณค่าอย่างยิ่งในศาสนาของเขาเป็นทำนองเดียวกัน คราวนี้ เมื่อว่าถึงเรื่องประเพณี ก็มีความเป็นไปในลักษณะอย่างนั้น คือ ทุกประเพณีก็มี "ค่า" ของแต่ละประเพณีไม่มากก็น้อย แล้วแต่ความรู้สึกของคนในส่วนรวม เพราะฉะนั้น ในการแก้ไขปรับปรุง