หน้า:ลักษณะการปกครองฯ - ดำรง - ๒๔๙๘.pdf/36

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๒๗

ต่าง ๆ มีคลังสำหรับเก็บแยกกันตามประเภท เช่น คลังมหาสมบัติสำหรับเก็บเงินทอง เป็นต้น จึงมีคำเรียกกันว่า สิบสองท้องพระคลัง

ที่เรียกว่า ภาษี ดูเหมือนจะเกิดแต่ให้ผู้รับประมูลกันส่งเงินหลวง ภาษีอย่างใด ใครรับประมูลส่งเงินมากกว่าเพื่อน ผู้นั้นก็ได้เป็นเจ้าภาษี ได้ยินว่า เพิ่งมีขึ้นเมื่อรัชกาลที่ ๒ กรุงรัตนโกสินทรนี้

ที่กรมพระคลังได้ว่าการต่างประเทศด้วยนั้น มีมูลมาแต่ตอนกลางสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เหตุด้วยเมื่อมีชาวต่างประเทศแล่นเรือเข้ามาค้าขาย เป็นหน้าที่ของของกรมพระคลังจะต้องซื้อสิ่งของที่ต้องการใช้ในราชการ และขายของส่วยซึ่งมีอยู่ในพระคลังเหลือใช้สอย ความเกี่ยวข้องในระหว่างชาวต่างประเทศกับกรมพระคลังเกิดแต่ด้วยเรื่องค้าขายเป็นมูล และเลยมาถึงภารธุระอย่างอื่นซึ่งเกี่ยวกับชาวต่างประเทศ เหตุด้วยกรมพระคลังคุ้นเคยกับชาวต่างประเทศยิ่งกว่ากรมอื่น จึงเลยมีหน้าที่เป็นพนักงานสำหรับบรรดาการที่เกี่ยวข้องกับชาวต่างประเทศอีกแผนกหนึ่ง เรียกว่า "กรมท่า" เพราะบังคับการท่าที่เรือค่างประเทศเข้ามาค้าขาย การพระคลังกับการต่างประเทศรวมอยู่ในเสนาบดีคนเดียวกันมาจนกรุงรัตนโกสินทร เพิ่งแยกเป็นต่างแผนกกันเมื่อปลายรัชกาลที่ ๔ และมากำหนดเป็นกระทรวงเสนาบดีต่างกัน เรียกว่า กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงหนึ่ง กระทรวงพระคลัง กระทรวงหนึ่ง เมื่อในรัชกาลที่ ๕