หน้า:ลัทธิฯ (๑๓) - ๒๔๖๔.pdf/13

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๐

หาฟังไม่ กลับส่งไปให้ญาติในลังกาทวีป ว่า ทำได้ดังนั้นตามมงคลสูตร ครั้งนั้น พวกเพื่อนสงฆ์อิก ๔ รูปเกิดรังเกียจ จึงให้พระอานนทเถรนั้นอยู่เสียต่างหาก ไม่ยอมร่วมสังฆกรรมด้วย จึงเกิดมี สองนิกายขึ้นในระหว่างพระสงฆ์ปรคะมะนิกาย ภายหลัง พระสงฆ์ในปรคะมะนิกายองค์ที่ชื่อว่า ตมรินท ได้ขอแก่อำมาตย์แลราชตระกูลในพระราชวังให้ทำบุญแก่ศิษย์ของตน เพื่อนสงฆ์ด้วยกันเห็นผิดต่อธรรมวินัยก็ห้ามปราม แต่พระตมรินทไม่เชื่อฟัง ด้วยเหตุนี้ พระตมรินทรูปนั้นจึงต้องแยกจากคณะสงฆ์ไปตั้งพวกขึ้นต่างหาก จึงได้เกิดมีเปน ๓ นิกายในระหว่างพระสงฆ์ปรคมะนิกาย รวมเปน ๔ นิกายทั้งเดิม

ต่อมา ถึงรัชกาลของพระเจ้าแผ่นดินพม่าทรงพระนาม มองอองสย[1] นัยหนึ่งว่า อลองมินทายี ประมาณ ๕๗๔ ปี ภายหลังรัชกาลของพระเจ้านรปติเชฏฐะ ฤๅประมาณ ๒๒๘๒ ปี ภายหลังพระพุทธเจ้าเข้าสู่ปรินิพพาน พระสงฆ์ในประเทศพม่ามีเปนสองนิกาย เรียกว่า โตนะนิกาย ๑ แลโยนะ[2] นิกาย ๑ ความที่ผิดกันในระหว่างสองนิกายนั้น คือ แปลกกันในการครองไตรจีวร พระสงฆ์โตนะนิกายเข้าในลแวกบ้านใช้รัตปคตแลไม่ต้องตามสุปฏิจฉันนสิกขาบท พระสงฆ์โยนะนิกายไม่ประพฤติเช่นนั้น แต่พระสังฆราชในเวลานั้นเปนพระสงฆ์ในพวกโตนะนิกาย พระสงฆ์ทั้งหลายในโตนะนิกายก็มีอำนาจมาก แลจำนวน


  1. คือ ที่เรียกในหนังสือพระราชพงษาวดารว่า พระเจ้ามังลอง เปนต้นราชวงศ์ที่สุด
  2. โยนะนิกาย น่าจะเปนพวกไทยใหญ่