หน้า:สัญญากรุงเทพฯ กับกรุงอังกฤษเป็นทางไมตรีค้าขายกัน (๒๓๓๙).pdf/14

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๔

งานฝ่ายไทยก็จะเรียกพ่อค้าคนหนึ่งฤๅสองคน ชว่ยตีราคาภอสมคววร ถ้าลูกค้าอยู่ในบังคับอังกฤษจะบันทุกเอาฝี่นเข้ามาณกรุงฯ ไม่ตอ้งเสียภาษี แต่ตอ้งขายฝี่นให้กับเจ้าภาษี ถ้าเจ้าภาษีไม่ซื้อเอาฝี่นไว้ ให้บันทุกกลับออกไป ไม่ตอ้งเสียอะไร ถ้าลูกค้าอยู่ในบังคับอังกฦษเอาฝี่นไปลักลอบขายทำผิดสัญาข้อนี้ ให้ริบเอาฝี่นเสียให้สิ้น แลของที่เปนสินค้าจะบันทุกออกไปนั้น ตั้งแต่ของสิ่งนั้นเกิดมาจนได้เปนสินค้าบันทุกกำปั่นออกไป ให้เสียภาษีแต่ชิ้นเดียว ของสิ่งไรที่เปนสินค้าในกรุงฯ จะเรียกเปนสมภักษร ฤๅจะเรียกเปนภาษีป่า ภาษีในกรุงฯ ภาษีปากเรืออย่างไร ได้กำหนดแจ้งในพิกัดติดอยู่กับหนังสือสัญญาแล้ว ได้ยอมกันเปนชัดแล้วว่า ของสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ตอ้งเสียภาษีข้างในแล้ว เมื่อลงเรือ ไม่ตอ้งเสีย พวกลูกค้าอยู่ในบังคับอังกฤษจะซื้อสินค้า ยอมให้ซื้อกับผู้ทำผู้ปลูก แลของที่เขาขายนั้น ถ้าผู้ใดผู้หนึ่งจะซื้อ ยอมให้ขาย มิให้ผู้ใดผู้หนึ่งขัดขวางห้ามปราม ภาษีที่กำหนดในพิกัดสัญญานี้ สินค้าที่บันทุกเรือไทเรือจีนที่เคยเสียแล้ว ฝ่ายไทจะยอมลดภาษีให้เรือไทเรือจีน แลชาติอื่น ๆ ก็จะยอมลดให้ลูกค้าซึ่งอยู่ในบังคับอังกฤษเหมือนกัน ลูกค้าอยู่ในบังคับอังกฤษจะเข้ามาต่อเรือณกรุงฯ เสนาบดียอมให้ต่อแล้ว ก็ต่อได้ แลเข้า ปลา เกลือ ของสามสิ่งนี้ ที่ในกรุงฯ ไม่บริบูรรณ มีหมายประกาศห้ามไม่ให้ออกไปก็ได้ เงินทองแลของสำหรับตัวเข้าออก ไม่ตอ้งเสียภาษี ๚ะ

ข้อ  ว่า ความในกดหมายซึ่งติดในสัญญานี้ กงซุลกับเจ้าพนักงานฝ่ายไทพร้อมกันจะตอ้งรักษา แลจะตอ้งบังคับให้คนทั้งปวงกระทำตามกดหมาย เจ้าพนักงานฝ่ายไทกับกงซุลจะคิดจัดแจงเพิ่มเติม