หน้า:สัญญากรุงเทพฯ กับกรุงอังกฤษเป็นทางไมตรีค้าขายกัน (๒๓๓๙).pdf/38

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๓๘

ขวาง จะให้เบิกลอ่งใน ๒๔ ชั่วโมง แต่หนังสือเบิกลอ่งสำรับตัวคนเข้าคนออกในทางนอก ๒๔ ชั่วโมงนั้น ก็ไม่ตอ้งเสียสิ่งใด ๚ะ

 เรื่องข้อ ๖ ว่าดว้ยประกาศห้าม
เข้าปลาเกลือ กับว่าดว้ยภาษีเข้าเปลือก ๚ะ

 ข้อ  ความในหนังสือสัญญาข้อ ๘ มีว่า เข้า ปลา เกลือ ของสามสิ่งนี้ ในกรุงไม่บริบูรณ มีหมายประกาศห้ามไม่ให้ออกไปก็ได้ ความข้อนี้ มิศปากฃอไขความออกไปว่า จะหมายประกาศห้ามเข้าแลสิ่งของที่ในหนังสือสัญญายกไว้นั้น ฃอให้บอกกงซุลให้รู้ความแต่เดือนหนึ่งกอ่น จึ่งห้ามกันขาดได้ ถ้าลูกค้าได้ฃอเข้าไว้ต่อเจ้าพนักงาน ๆ ยอมให้ไว้เท่าไร ตอ้งยอมให้ตามที่ว่ากันกว่าจะครบ แต่ภาษีเข้าเปลือกนั้น ฃอเสียให้เกียนละ ๒ บาท ความข้อนี้ ฝ่ายไทว่า ถ้ามีการศึกสงครามฤๅคนประทุฐร้ายต่อแผ่นดินก็ดี จะตอ้งห้ามมิให้ลูกค้าซื้อฃายเข้าในเวลานั้น ดว้ยเข้าเปนกำลังของไพ่รพล ถ้าเปนแต่เกิดเหตุอันใดอันหนึ่ง คือ ฝนแล้ง ฤๅน้ำนอ้ย น้ำมาก เหนว่า เข้าจะแพงราคาขึ้นไป ก็จะบอกให้กงซุลรู้กอ่นหมายประกาศเดือนหนึ่ง ถ้าลูกค้าได้ฃอเข้าต่อเจ้าพนักงาน จำนวนเข้าเท่าไร เจ้าพนักงานยอมให้แล้ว ถึงเวลาห้าม ก็จะตอ้งให้ ๆ ครบตามฃอไว้ ถ้าลูกค้าซื้อเอาเอง ไม่ฃอต่อเจ้าพนักงาน ถึงเวลากำหนดห้ามเมื่อไร ถึงซื้อไว้แล้ว ก็เอาเข้าไปไม่ได้ ถ้าสิ้นเหตุที่ห้ามแล้ว ตอ้งเปิดให้ลูกค้าซื้อออกไปได้ แลภาษีเข้าเปลือก ฃอเสียให้เกียนละ ๒ บาทนั้น ฝ่ายไทก็ยอม

 เรื่องข้อ ๗ ว่าดว้ยเงินเหรียนเงินกอ้นแลทองกอ้นทองใบ ๚ะ

 ข้อ  ความในหนังสือสัญญาข้อ ๘ มีว่า เงินทองสำรับตัวเข้าสำรับตัวออกไม่ตอ้งเสียภาษีรอ้ยละสาม มิศปากฃอไขความออกไปว่า เงิน