หน้า:สัญญากรุงเทพฯ กับกรุงอังกฤษเป็นทางไมตรีค้าขายกัน (๒๓๓๙).pdf/52

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๕๒

 ข้อ  ว่า เจ้าพนักงานผู้นอ้ยที่ไปเกบภาษีดว้ยนั้น จะลงไปกำกับอยู่ในเรือลูกค้าอังกฤษคน ๑ ฤๅหลายคนก็ได้ จะอยู่บนเรือก็ได้ จะจอดเรือเคียงอยู่ก็ได้ ถ้าเรือทอดอยู่นอกสันดอร จะตอ้งลำเลียงสินค้าเข้ามา เจ้าพนักงานจะไปกำกับอยู่ที่เรือใหญ่ก็ได้ กำกับอยู่ที่เรือลำเลียงก็ได้ จะเดินสารเข้าออกก็ได้ ตามใจของไท แต่อย่าให้ช้า ๚ะ

 ข้อ  ว่า สินค้าฃนขึ้นจากเรือ แลฃนสินค้ามาแต่บนบกบันทุกเรือ ตอ้งทำตั้งแต่ตวันขึ้นจนตก แล้วเรือต่อเรือจะถ่ายของขึ้นของลง ก็ตอ้งทำในระหว่างเวลานั้นเหมือนกัน ๚ะ

 ข้อ  ว่า สินค้าทุกอย่างฃนขึ้นจากเรือก็ดี ฃนลงบันทุกเรือก็ดี ลูกค้าได้มาเรียกเจ้าพนักงานให้ไปดูแล้ว เจ้าพนักงานที่เกบภาษีตอ้งไปตรวดตราให้ลูกค้าได้ฃนสินค้าขึ้นสินค้าลงในระหว่าง ๑๒ ชั่วโมงแต่กลางวัน ลูกค้าจะไปบอกให้มาตรวดตราของอย่างไร สุดแต่กงซุลอังกฤษกับเจ้าพนักงานฝ่ายไทที่เกบภาษีจะปฤกษากัน ๚ะ

 ข้อ  ว่า ลูกค้าอังกฤษจะเสียภาษีให้เจ้าพนักงานเปนเงินบาทก็ได้ เงินต่างประเทศ คือ เงินกอ้น ก็ได้ คือ ทองกอ้น ก็ได้ ถ้าเปนเงินต่างประเทศ สุดแต่เจ้าพนักงานฝ่ายไทกับกงซุลอังกฤษจะคิดอ่ากนันตามเนื้อเงินสูงเงินต่ำ ผู้ที่จะไปเกบภาษีแลรับเงินภาษีนั้น ตามแต่ไทจะบังคับให้ผู้ใดไปก็ได้ ๚ะ

 ข้อ  ว่า หนังสือเบิกลอ่งเรือใหญ่ที่มิได้ตอ้งลำเลียงเสียภาษีฃาเข้าฃาออกแลค่าเผาเงินชั่งละสองสะลึงกับค่าฎีกาหกสะลึง ให้เสจ็แล้ว ไม่ตอ่งเสียสิ่งไรอีก ๚ะ