หน้า:เครื่องมโหรีฯ - ดำรง - ๒๔๗๓ (๑).pdf/5

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว

เครื่องดีดสีตีเป่าของไทยเรา โดยมากได้แบบอย่างมาจากอินเดียแต่ดึกดำบรรพ์ เช่นเดียวกันกับพวกเขมร มอญ พะม่า และชะวา มะลายู เพราะเช่นนั้น เครื่องดีดสีตีเป่าของชนชาวประเทศเหล่านี้จึงคล้ายคลึงกัน ยังสังเกตเห็นได้จนทุกวันนี้

ก็เครื่องดิดสีตีเป่าของชาวอินเดียอันเป็นต้นตำราเดิมนั้น เขาเรียกรวมกันว่า เครื่องสังคีต มีคัมภีร์ชื่อ สังคีตรัตนากร[1] จำแนกเป็น ๔ ประเภทต่างกัน เรียกในภาษาสังสกฤตดังนี้ คือ

๑) ตะตะ เป็นเครื่องประเภทที่มีสายสำหรับดีดสีเป็นเสียง

๒) สุษิระ เป็นเครื่องประเภทที่เป่าเป็นเสียง

๓) อะวะนัทธะ เป็นเครื่องประเภทที่หุ่มหนังตีเป็นเสียง

๔) ฆะนะ เป็นเครื่องประเภทที่กระทบเป็นเสียง

เครื่อง ๔ ประเภทที่กล่าวมานี้ ในคัมภีร์สังคีตรัตนากรบอกอธิบายต่อไปว่า เครื่องประเภทตะตะ (เครื่องสาย) กับสุษิระ (เครื่องเป่า) นั้น สำหรับทำให้เป็นลำนำ เครื่องประเภทอะวะ


  1. คัมภีร์นี้เปนภาษาสังสกฤต พราหมณ์กุปปุสวามี อารย ช่วยแปลอธิบายให้.