หน้า:เลิกทาสในรัชกาลที่ ๕ - ศก - ๒๔๘๗.pdf/3

หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร

ประกาสอิสระภาพตั้งอานาจักรสุโขทัยขึ้นเปนเอกราชแล้ว ก็น่าจะซงประสบความยุ่งยากไนเรื่องนี้หยู่ไม่น้อยเหมือนกัน จึงปรากตมีคำเตือนไจไห้คนไทยรู้สำนึกความเป็นไทยของตนเสมอ ดังปรากตเปนบัญญัติหรือสุภาสิตพระร่วงบทหนึ่งว่า "ตนเปนไทยหย่าคบทาส" ทั้งนี้สแดงว่าความเปนหยู่และความรู้สึกไนจิตดังนี้ได้มาแต่โบรานแม้ฝรั่งที่เข้ามาประเทสไทยเมื่อรัชสมัยสมเด็ดพระนารายน์มหาราชก็ได้เขียนกล่าวถึง (ประชุมพงสาวดารภาคที่ 42 หน้า 67 - 70) เปนเชิงตำหนิตามความรู้สึกของเขาว่า "ท่านผู้ที่เปนไหย่หรือเปนเจ้านายไนเมืองนี้ เลี้ยงตัวอยู่ได้ก็ด้วยอาสัยกำลังของพวกทาส ทาสเหล่านี้เปนคนที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานไห้แก่เจ้านายและข้าราชการผู้ไหย่และท่านผู้ไหย่เหล่านี้ ก็มักปล่อยทาสไห้ไปทำมาหากินเสียครึ่งหนึ่ง ทาสเหล่านี้ก็เอาเงินมาไห้แก่นายวันละอัถหรือ 2 อัถทุกวันไป" จิงหยู่ตามที่กล่าวนี้จะเห็นได้ว่า ฝรั่งผู้เขียนนี้ มีความเข้าไจเรื่องทาสที่มีไนประเทสผิดพลาดหยู่บ้าง เช่นที่ว่าทาสเปนคนที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานไห้ เพราะมีความจิงปรากตหยู่ไนกดหมายลักสนะทาสของเก่าชัดเจนอยู่แล้วว่าทาสนั้นแบ่งเปนหลายประเภท แต่ก็เปนข้อความที่สแดงไห้เห็นว่าประเพนีไช้ทาสไนประเทสไทยได้มีขึ้นต่อไปชั้นหลัง เพราะคำว่าไ "ไทย" ตามที่ท่านผู้รู้ได้สอบสวนแล้ว ปรากตว่ามาจากคำว่า ตา, ต้า, ไต, ไต้ หรือ ไท แปลว่า ไหย่ หรือผู้เปน