หน้า:แผนพัฒนาการเมืองฯ (พป).pdf/186

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๒๒๘
สามารถ ทรงคุณธรรม สมควรเปนที่ไว้วางพระราชหฤทัย"
 พระยาโกมารกุลฯ เห็นว่า ถ้าไม่จำกัดจำนวนแล้ว ควรตัดคำว่า “จำนวนองคมนตรีนั้นมากน้อยเท่าใดไม่มีกำหนดตามพระราชประสงค์” ออกเสีย. ถ้าจะจำกัดจำนวน เห็นควรทรงตั้งแต่เพียง ๒๕๐ คน เพื่อไม่ให้บัวช้ำน้ำขุ่น.
 พระยาจินดาภิรมย์ อธิบายว่า ได้ร่างตามแบบดิมเพื่อให้ชัดเจน ถ้าจำกัดแล้ว เปนการบังคับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ทรงเลือกได้ไม่เกินกว่าจำนวนนั้น. จะตัดออกก็ได้.
 หม่อมเจ้าสิทธิพร เห็นว่า ตัดออกดีกว่า มีไว้สำหรับอะไร ถ้าจะให้ทรงตั้งมากน้อยเท่าไรตามพระราชอัธยาศัย ไม่ต้องกล่าวไว้ในพระราชบัญญัติก็ได้.
 ที่ชุมนุมตกลงให้ตัดความนั้นออก.
มาตรา ๕, ๖  หม่อมเจ้าสิทธิพร เห็นควรตัดตอนท้ายของมาตรา ๕ ว่าด้วยศักดินาและเดินหน้าเดินหลังออกเสีย เพราะว่า ถ้าจะทรงตั้งราษฎรเปนองคมนตรีด้วยแล้ว จะทำให้ยุ่ง และเห็นควรยกมาตรา ๖ ว่าด้วยการถือน้ำถวายคำสาบาลเข้ามาต่อมาตรา ๕.
 ที่ชุมนุมเห็นชอบด้วย.
มาตรา ๗  ผู้ทรงเปนประธาน รับสั่งว่า มาตรา ๗ นี้สำคัญมาก การที่ตั้งให้เปนองคมนตรีตลอดชีวิต เมื่อสิ้นแผ่นดินแล้ว ยังเปนอยู่ได้อีก ๖ เดือนนั้น ระเบียบเดิมจะมุ่งหมายให้ confirm succession ช่วยเลือกผู้สืบสันติวงศ์หรือประการใด การตั้งเขาตลอดชีวิตนั้น จะให้เขาลาออกได้ฤๅไม่ ถ้าไม่ไว้วางพระราชหฤทัย ก็ควรให้ออกได้ ถ้าสิ้นแผ่นดิน พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่จะไม่ให้เปนได้ฤๅไม่ เพราะฉนั้น ควรแก้ข้อนี้ซึ่งเปนความมุ่งหมายสำหรับสันติวงศ์ฤๅไม่.
 หม่อมเจ้าสิทธิพร ว่า ควรเปิดโอกาศให้องคมนตรี
/ลาออก