หน้า:แผนพัฒนาการเมืองฯ (พป).pdf/222

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๒๖๔

ใน regime สมมุติทั้งสองนี้ ถ้าสภากรรมการองคมนตรีเปนเพียง Consultative body ถึงแม้จะมีข้ออันตรายแก่แผ่นดินเท่าใด กรรมการองคมนตรีไม่มีสิทธิที่จะออกความเห็นทักท้วงได้เลย เพราะถ้าจะเรียกประชุมปฤกษาหารือกันเอง คงเกรงกลัวว่า จะถูกหาว่าเปน conspiracy ด้วยพระราชบัญญัติมิได้เปิดโอกาสให้เรียกประชุมกันเองได้ ถ้าจะถวายความเห็นส่วนตัวตามมาตรา ๖ ก็เปนเสียงคนเดียว ๆ ไม่มีน้ำหนักเท่าใดเลย

แต่ถ้าเปน Advisory body และมีข้อในพระราชบัญญัติเปิดโอกาสให้เรียกประชุมกันเองได้ ถ้าการเปนไปของแผ่นดินคล้ายคลึงกับข้อสมมุติที่กล่าวมา สภากรรมการองคมนตรีอาจเรียกประชุมและยื่นความเห็นทักท้วงหรือวิงวอนให้เปลี่ยนแปลงรัฐประศาสโนบายซึ่งเดินไปทางอันตรายกลับหาวิธีการที่แน่นอนและมั่นคง

เพื่อจะแก้จาก consultative มาเปน advisory body บางทีเติมคำในมาตร ๑๓ ก็พอ ดังทำนองนี้

"มาตรา ๑๓ เมื่อได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานข้อราชการใดลงมาให้ปฤกษาแล้ว หรือเมื่อมีเหตุสำคัญเกี่ยวแก่ Welfare(?) ของแผ่นดิน สภากรรมการองคมนตรีมีหน้าที่และอำนาจ (สิทธิ?) ที่จะประชุม" ฯลฯ

ถ้าได้แก่พระราชบัญญัติตามทำนองนี้แล้ว ก็ควรคิดดูว่า in practice จะดำเนินอย่างไร

ข้าพระพุทธเจ้าเห็นว่า ในชั้นแรก สภากรรมการองคมนตรีคงจะไม่ใช้สิทธิอันนี้เลย และถ้าราชการดำเนินไปโดยเรียบร้อย ก็คงจะไม่ใช้ ต่อเมื่อมีเหตุสำคัญจริง ๆ ดังได้กล่าวมาแล้วนั้น นั่นแหละ บางทีจะมีองคมนตรีที่มี moral courage เพียงพอร้องขอประชุมตามแต่ข้อบังคับของการประชุม (rules of meeting) จะให้โอกาส

ส่วนประโยชน์ที่จะถึงได้แก่แผ่นดิน ก็แล้วแต่ moral courage ขององคมนตรี moral courage เปนสมบัติขององคมนตรีมากคนเท่าใด ความยำเกรงของพระมหากระษัตริย์หรือผู้สำเร็จราชการก็มีมากส่วนเท่านั้น. ส่วนความเห็นราษฎร (public opinion) ก็จะมีน้ำหนักตามส่วนแห่งความกล้าของสภากรรมการองคมนตรี (Public opinion will have weight in proportion to the degree of moral courage possessed by the Council.)

/ถ้า