หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/102

หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
จิตร ภูมิศักดิ์  ๑๒๙ 

เป็นการแบ่งโดยมีเงื่อนไข กล่าวคือเมื่อแบ่งที่ดินให้ไปแล้ว ผู้ที่ได้รับส่วนแบ่งจะต้องส่งส่วยสาอากรถวายเป็นการตอบแทนพระมหากรุณาธิคุณที่ปกเกล้าปกกระหม่อมตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน

๒) ความขัดแย้งทางการเมืองของชนชั้นศักดินาความจริงปรากฏเป็นกฏตายตัวแล้วว่า อํานาจทางการเมืองของพวกเจ้าขุนมูลนายย่อมมีมากหรือน้อยตามขนาดของอํานาจทางเศรษฐกิจ ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิตมาก ย่อมมีอํานาจทางการเมืองมาก การปล่อยให้พวกเจ้าขุนมูลนายครอบครองผืนดินโดยไม่มีขอบเขตจํากัด เป็นการเสริมสร้างอํานาจทางการเมืองของพวกนั้น ขยายออกไปอย่างไม่มีวงจํากัดเป็นเงาตามตัว ซึ่งกรณีนี้ ย่อมเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของศักดินาใหญ่ การออกกฏหมายจํากัดขนาดของปัจจัยการผลิตคือ ที่ดิน เป็นทางเดียวที่จะจํากัดอํานาจทางการเมืองขั้นพื้นฐานของพวกเจ้าขุนมูลนายไว้ได้อย่างมีผลชะงัดแน่นอน ฉะนั้นกฏหมายพระราชทานที่ดินจึงต้องเดินควบคู่ไปกับการกําหนดอัตราสูงสุดของปริมาณที่ดินที่เจ้าขุนมูลนายแต่ละคนจะพึงมีได้ อนึ่ง การประทานที่ดินให้แก่ข้าราชบริพาร และส่งออกไปเป็นเจ้าขุนมูลนายแทนเจ้าขุนมูลนายชุดเดิมนี้ เป็นการประกันได้อย่างหนึ่งว่ากษัตริย์จะได้เจ้าขุนมูลนายชุดใหม่ที่ภักดีแน่นอนกว่า การปฏิบัติเช่นนี้ เป็นไปตามแผนการเพื่อรวบอํานาจให้เข้าสู่ศูนย์กลางได้อย่างมีผล

๓) กฏทางภววิสัยของความพัฒนาแห่งระบบผลิต ระบบผลิตยุคทาสได้ทลายลงแล้วโดยสิ้นเชิง ทาสที่อยู่ในกรรมสิทธิ์ของศักดินาใหญ่กลับกลายเป็น "ไท" ศักดินาใหญ่ไม่มีทาสเหลืออยู่เป็นเครื่องมือทํามาหากินอีกแล้ว สิ่งที่ศักดินาใหญ่มีอยู่ก็คือที่ดินอย่างเดียว ทางเดียวที่จะแสวงหาผลประโยชน์ได้ก็คือ แจกจ่ายที่ดินให้ไปแก่เสรีชนและเจ้าขุนมูลนาย ให้ทุกคนผลิตผลประโยชน์ออก