หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/110

หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
จิตร ภูมิศักดิ์  ๑๓๖ 

พวกวงศ์วานว่านเครือ ท้าวพระยาและข้าราชการอันเป็นผู้ที่ยังมิได้ตัดกิเลสเท่านั้น หากพวกพระภิกษุสงฆ์และนักบวชทั้งปวงก็ได้รับส่วนแบ่งผลประโยชน์จากที่ดินด้วย อัตรามีดังนี้ :

พระครูรู้ธรรม เสมอนา ๒,๔๐๐ ไร่
พระครูไม่รู้ธรรม เสมอนา ๑,๐๐๐ ไร่
พระภิกษุรู้ธรรม เสมอนา ๖๐๐ ไร่
พระภิกษุไม่รู้ธรรม เสมอนา ๔๐๐ ไร่
สามเณรรู้ธรรม เสมอนา ๓๐๐ ไร่
สามเณรไม่รู้ธรรม เสมอนา ๒๐๐ ไร่
พราหมณ์รู้ศิลปศาสตร์ เสมอนา ๔๐๐ ไร่
พราหมณ์มัธยม เสมอนา ๒๐๐ ไร่
ตาปะขาวรู้ธรรม เสมอนา ๒๐๐ ไร่
ตาปะขาวมิได้รู้ธรรม เสมอนา ๑๐๐ ไร่

(๔) อัตราสําหรับไพร่หรือประชาชน

ในพระอัยการเบ็ดเสร็จ (เพิ่มเติม) ซึ่งตราไว้ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทองรามาธิบดีที่ ๑ (พ.ศ. ๑๙๐๓) ก็ได้มีข้อความประกาศไว้ชัดแจ้งว่า : "ที่ในแว่นแคว้นกรุงเทพพระมหานครศรีอยุธยามหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบุรีรัมย์ เป็นที่แห่งพระเจ้าอยู่หัว หากให้ราษฎรทั้งหลายผู้เป็นข้าแผ่นดินอยู่ จะได้เป็นที่ราษฎรหามิได้" ฉะนั้นพวกราษฎรผู้เป็นข้าแผ่นดินที่อาศัยแผ่นดินท่านอยู่ จึงไม่มีสิทธิ์มีเสียงอะไร นอกจากยอมรับเอาอัตรานี้ เข้าไว้ด้วยความขมขื่น

ไพร่หัวงาน มีศักดินา ๒๕ ไร่
ไพร่มีครัว มีศักดินา ๒๐ ไร่
ไพร่ราบ มีศักดินา ๑๕ ไร่
ไพร่เลว มีศักดินา ๑๐ ไร่