หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/120

หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
จิตร ภูมิศักดิ์  ๑๔๗ 

จริงของปริมาณของผู้คนและผืนที่ดินจำนวนของประชาชนในครั้งพระบรมไตรโลกนาถมีอยู่เท่าใดไม่มีสถิติ แต่เราลองเทียบดูก็แล้วกันว่า เพียงแต่ย้อนหลังขึ้นไปถึงปี พ.ศ. ๒๓๙๓ คือเมื่อร้อยปีที่แล้วมานี้ ประเทศไทยขณะนั้นซึ่งโตกว่าสมัยพระบรมไตรโลกนาถตั้งมากมาย มีพลเมืองอยู่เพียงไม่กี่ล้านคน ตามการอนุมานที่น่าเชื่อถือได้ของ "เซอร์จอห์น เบาริง" ปรากฏว่ามีเพียงสี่ล้านครึ่งถึงห้าล้านเท่านั้น หรือถ้าจะขยับไปเชื่อการอนุมานของสังฆราช "ปัลเลอกัวซ์" ก็มีอย่างมากเพียงหกล้านคน และในจำนวนนี้ ล้านครึ่งเป็นคนจีน ถึงแม้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔ ปลายสมัยรัชกาลที่ ๕ ก็มีอยู่เพียงราวแปดล้านเศษ (๘.๓ ล้าน)๗๗ จนชั้นใน พ.ศ. ๒๔๗๕ เราก็มีพลเมืองเพียงสิบเอ็ดล้านเศษ๗๘ ตามความจริงข้อนี้ เราก็พอจะมองดูคร่าวๆ ได้ว่าจำนวนพลเมืองในสมัยพระบรมไตรโลกนาถคงมีไม่กี่ล้าน ที่ดินที่เพาะปลูกได้ทั่วประเทศไทยมีจำนวนนับสิบๆ ล้านไร่ เมื่อได้กดคนลงเป็นไพร่มีนาเพียง ๑๕ ไร่ หรือ ๑๐ ไร่ หรือ ๕ ไร่ หรือไม่มีเลยเพราะเป็นเลกล้มละลาย เช่นนี้แล้วที่นาก็มีเหลือเฟือแก่การแบ่งปันเป็นแสนเป็นหมื่นและเป็นพันไร่ในหมู่พวกศักดินาด้วยกัน ปัญหาที่พระบรมไตรโลกนาถประสบนั้นมิใช่ปัญหาไม่มีนาจะประทาน หากประสบปัญหาไม่มีคนจะทำนา นาต้องทิ้งว่างเปล่าๆ! ข้อที่ทรงวิตกก็คือ ตัวเองมีแต่ที่ดินไม่มีคนพอที่จะให้รับนาไปทำ ทำให้ตนได้ผลประโยชน์น้อย ความจริงข้อนี้จะเห็นได้จากกฏหมายลักษณะขบถศึก ซึ่งทรงบัญญัติออกใช้เมื่อ พ.ศ. ๑๙๙๗ ซึ่งกล่าวว่า :

"อนึ่ง ป่าดงทุ่งว่างร้างเซหาผู้อยู่ทำมาหากินมิได้แลผู้ใดชักชวนราษฎรให้เข้ามาทำมาหากิน เอาส่วย สาอากรขึ้นพระคลังบำนาญเป็นลหุ (คือให้บำนาญอย่างเบาะๆ)"