หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/129

หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
 ๑๕๖  โฉมหน้าศักดินาไทย

พวก "ขุนโขลน" นี้ ก็คือพวก "ข้าพระ" หรือ "เลกของพระพุทธบาท" พวกนี้ มีหัวหน้าควบคุมอีกสี่คน คือ หมื่นพรหม พันทต พันทอง และพันคำ หน้าที่ของทั้งสี่คนนี้ ก็คือ "สำหรับได้ว่ากล่าวข้าพระโยมสงฆ์ให้สีซ้อมจังหันนิตยภัตถวายพระสงฆ์ ซึ่งจำพรรษาอยู่ ณ เขาจังหวัดพระพุทธบาทองค์ละ ๓๐ ทะนาน๘๖ พวกข้าพระที่พระพุทธบาทนี้ มีจำนวนมากมายพอดู เมื่อครั้งพระเจ้าบรมโกษฐ์รบกับเจ้าฟ้าอภัย เป็นสงครามกลางเมืองพวกข้าพระภายใต้การนำของขุนโขลนได้ยกกำลังไปช่วยทำสงคราม ๑๐๐ คน พอเสร็จศึกจึงได้รับพระราชทานอะไรต่ออะไรเพิ่มเติมยกใหญ่ และช่วยออกเงินไถ่พวกข้าพระที่ต้องตกไปเป็นขี้ข้าขี้ทาสต่างเมืองกลับมาอยู่ ณ พระพุทธบาทตามเดิม พวกข้าพระในพระพุทธบาทจึงเพิ่มมากขึ้นนับเฉพาะแต่คนฉกรรจ์มีถึง ๖๐๐ ครัว (สถิติ พ.ศ. ๒๓๒๗)๘๗

พวกข้าพระที่อยู่ในบริเวณพระพุทธบาทนั้น นอกจากจะเป็น "ข้าพระไถนาหลวง เอาขึ้นถวายพระสงฆ์" แล้ว ยังต้องเสียภาษีอากรให้แก่วัดอีกด้วย (รูปเดียวกับ Tithe ของยุโรป) อัตราของอากรวัดพระพุทธบาทมีดังนี้ :

อากรค่านาเก็บโดยนับจำนวนวัวที่ใช้ไถ วัวคู่หนึ่งเก็บอากร ๑๐ สลึง ที่อ้อยไร่ละบาท อากรยางปีละ ๒ สลึง ตัดไม้เล็กๆ ขนาดแบกได้ด้วยพร้า อากรปีละ ๑ เฟื้อง อากรตัดเสาไม้ใหญ่ปีละ ๒ สลึง พวกตัดหวาย "ฉีกตอกลอกเชือกสารพัดการทั้งปวง" ถ้าผู้ชายเสียอากรปีละ ๑ สลึง ผู้หญิงเสียอากรปีละเฟื้อง อากรตลาดร้านละ ๒ สลึง อากรหาบเร่หาบละเฟื้อง (คำให้การขุนโขลนเรื่องพระพุทธบาทในประชุมพงศาวดารภาคที่ ๗ น.๖๔)

การอุทิศที่ดิน และคนให้เป็นสมบัติและผลประโยชน์ของวัดคือ "กัลปนา" นี้ ได้ทำกันเป็นครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่งในสมัยพระเอกา