หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/136

หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
จิตร ภูมิศักดิ์  ๑๖๓ 
รวมทั้งมณฑล ๑๒,๕๐๑ ไร่

๖. มณฑลนครสวรรค์

นครสวรรค์ ๑๒ ไร่

๗. มณฑลจันทบุรี

จันทบุรี ๒๑๕ ไร่
รวมทั้งสิ้น ๔๐,๖๗๐ ไร่

สรุปความในตอนนี้ทั้งตอนได้ว่า ผู้ถือกรรมสิทธิในปัจจัยการผลิต (ที่ดิน) ในระบบศักดินาของไทยก็คือ

๑. กษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์รวมทั้งลูกเมีย

๒. ขุนนางข้าราชบริพารและชนชั้นเจ้าที่ดินทั่วไป

๓. วัดในพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น

นั่นก็คือ ทั้งสามพวกนี้ คือเจ้าที่ดินใหญ่ในสังคมไทยในสมัยศักดินา

ไพร่–กับการถือกรรมสิทธิที่ดิน

คราวนี้ก็มาถึงพวกไพร่พวกไพร่ถือกรรมสิทธิในที่ดินอย่างไร ?

ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ เมื่อได้มีการแจกจ่ายที่ดินกันครั้งใหญ่นั้น พวกไพร่ต่างก็ได้รับส่วนแบ่งที่ดินโดยทั่วกัน โดยปกติพวกนี้จะได้รับที่นาเพียงคนละ ๕ ไร่เท่านั้น ทั้งนี้เพราะพวกนี้ส่วนมากเป็นทาสที่เพิ่งได้หลุดพ้นมาเป็นไท ยังตั้งตัวกันไม่ติด มักจะเป็นพวกที่ยากจนข้นแค้นเสียส่วนมาก ซึ่งเข้าอยู่ในเกณฑ์ยาจก วนิพก ทาส และลูกทาส

ส่วนพวกไพร่ที่รับใช้งานเจ้านายเป็นไพร่เลว ถ้ามีคนฝากฝังให้เป็น "เลว" ของเจ้าขุนมูลนายได้ พวกนี้ก็นับว่ามีวาสนาได้เป็นข้าเจ้านาย ได้รับส่วนแบ่งนาคนละ ๑๐ ไร่