หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/141

หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
 ๑๖๘  โฉมหน้าศักดินาไทย

อีกหลายประเทศ เช่นประเทศจีนก่อนสมัยการปลดแอก เป็นต้น

การเช่าที่นาของประชาชนในยุคศักดินา เป็นรายได้สำคัญอย่างหนึ่งของชนชั้นศักดินา ทั้งนี้เพราะชนชั้นศักดินาได้เข้ายึดครองที่นาดีทั้งมวลไว้ในมือของตนเสียแทบทั้งสิ้น โดยเฉพาะในภาคกลางบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อชนชั้นศักดินาได้ขุดคลองระบายน้ำแล้ว ก็มักกว้านซื้อจับจองที่ดินไว้ในมือแทบทั้งหมด

"ในท้องทุ่งรังสิตอันกว้างใหญ่ไพศาลนั้น... ที่นาส่วนมากมิใช่เป็นกรรมสิทธิของกสิกร กสิกรต้องเช่าเขาทำ และกสิกรได้เช่านาทำเป็นจำนวนเนื้อที่พอเหมาะแก่กำลังที่จะทำได้ เพราะถ้าขืนเช่ามามากเกินกำลังที่จะทำได้หมด ก็จำต้องเสียค่าเช่าทุกไร่ จะทำหรือไม่ทำก็ต้องเสียค่าเช่าให้แก่เจ้าของนาทั้งนั้นมิได้มีการยกเว้น... ทั้งนี้ก็เพราะเหตุว่านาในทุ่งรังสิตส่วนมากนั้นเป็นของบุคคลที่มิใช่กสิกร กสิกรในทุ่งรังสิตบางจังหวัด เช่น จังหวัดปทุมธานี กสิกรไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินเฉลี่ยร้อยละ ๗๒.๕๑ กสิกรเหล่านี้ ส่วนมากไม่มีที่ดินของตนเองเลยสักไร่เดียว ต้องเช่าเขาทำทุกตารางนิ้ว..."๙๑

ในสมัยศักดินากฏหมายไดูช่วยรักษาผลประโยชน์ชนชั้นเจ้าที่ดินเป็นอย่างดี เพราะถ้าผู้เช่าไม่มีค่าเช่าให้ตามกำหนดสัญญา กฏหมายให้เกาะกุมตัวมาปรับให้เสียค่าเช่า ๒ เท่า ค่าเช่าที่เรียกเก็บ ๒ เท่านั้น ให้ยกค่าเช่าแท้ๆ ให้เจ้าของที่ดินไป ส่วนที่เหลือรัฐบาลยึดไว้ครึ่งหนึ่งเป็นค่าธรรมเนียม (เงินพินัย) อีกครึ่งหนึ่งเป็นค่าปรับ (สินไหม) ยกให้แก่เจ้าของที่ดิน (เบ็ดเสร็จเพิ่มเติมบทที่ ๗)

โดยปกติในสมัยศักดินา การชำระค่าเช่านา จะยกไปชำระกันปลายปี คราวนี้ถ้าหากเจ้าของที่นาเห็นว่าผู้เช่าคนเดิมทำท่าจะทำนาไม่ได้ผล มีกำลังไถไม่พอ ตกปลายปีนั้นจะไม่มีค่าเช่าให้ตน ในกรณีนั้นเจ้าของที่นาก็มีสิทธิ์ที่จะยกที่ดินผืนนั้นให้คนอื่นเช่าซ้อนทับลง