หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/148

หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
จิตร ภูมิศักดิ์  ๑๗๕ 

ฆ่าฟันประหารชีวิตทั้งสิ้น

ตัวอย่างของผู้ต้องพัทธยา คือ โทษฟันคอริบเรือนและลูกเมียข้าคน ก็คือ "ขุนไกรพลพ่าย" พ่อของขุนแผนในวรรณคดีอิงเรื่องจริงของเรา ครั้งนั้นขุนไกรฯ ต้องออกไปเป็นแม่กองต้อนควายเข้าโขลงหลวง ควายตื่นไล่ขวิดผู้คน ขุนไกรเห็นว่าชีวิตคนสำคัญกว่าควาย จึงเข้าสกัดใช้หอกแทงควายตายลงหลายตัว ควายเลยตื่นหนีเข้าป่าไปสิ้น ข้างสมเด็จพระพันวัสสาทรงกริ้วเสียดายควายมากกว่าคน เลยพาลพาโลสั่งพวกข้าหลวงว่า :

"เหวยเหวยเร่งเร็วเพชฌฆาต ฟันหัวให้ขาดไม่เลี้ยงได้
เสียบใส่ขาหยั่งขึ้นถ่างไว้ ริบสมบัติข้าไทอย่าได้ช้า"

เมื่อโดนเข้าไม้นี้ ขุนไกรก็คอหลุดจากบ่า ลูกเมียเดือดร้อนกระจองอแง นางทองประศรีเมียขุนไกรนั้นนอกจากจะเสียผัวรักแล้ว "ยังจะถูกเขาริบเอาฉิบหาย" อีกทอดหนึ่ง๙๔

นี่คือ ธรรมะ ของศักดินา และนี่ก็คือ พัทธยาของศักดินา!

ค. เกณฑ์เฉลี่ย คือ การเกณฑ์เงิน เกณฑ์แรงงานช่วยกิจการของกษัตริย์เป็นครั้งคราว เช่น กษัตริย์ชอบถวายน้ำมันมะพร้าวให้แก่วัดวาอารามสำหรับตามประทีปบูชาพระ ก็จะออกหมายเกณฑ์เฉลี่ยเอามะพร้าว หรือน้ำมันมะพร้าวจากเจ้าของสวน หรือถ้าจะเลี้ยงแขกเมืองก็เกณฑ์เฉลี่ยให้ประชาชนช่วยเงินทองข้าวของตามแต่จะกำหนด บางทีก็เกณฑ์แรงเพื่อสร้างป้อมปราการกำแพงวังหรือเกณฑ์ไพร่ไปล้อมช้าง เป็นต้น การเกณฑ์เช่นนี้ไม่มีกำหนดตายตัว ขึ้นอยู่กับความต้องการของกษัตริย์เป็นครั้งคราว เรียกว่าถ้ากษัตริย์จะต้องเสียอะไรจะทำอะไร ก็ต้องหันขวับมาเกณฑ์ให้ประชาชนช่วยออกเงินและออกแรงเฉลี่ยเอาเสมอไป

ง. ส่วยแทนแรง ส่วยแทนแรงนี้ คือเงินหรือสิ่งของที่กษัตริย์