หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/149

หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
 ๑๗๖  โฉมหน้าศักดินาไทย

เรียกเก็บเอาจากประชาชนทั่วไปที่ไม่ไปใช้แรงช่วยงานเกณฑ์ของรัฐบาลศักดินา พึงเข้าใจเสียก่อนว่าในยุคศักดินานั้นผู้ชายที่ร่างกายครบอาการ ๓๒ ทุกคนถือว่าเป็นชายฉกรรจ์จะต้องถูกเกณฑ์ให้เข้ารับราชการ ที่ว่ารับราชการนี้ก็คือออกแรงทำงานรับ ใช้ชนชั้นศักดินา จะเป็นงานไถนา ดำนา โยธา ฯลฯ ก็แล้วแต่ มีกำหนดปีละ ๖ เดือนเรียกว่า เข้าเวร (เวรจริงๆ!) และต้องเข้าไปตั้งแต่อายุ ๑๘ ถึง ๖๐ ปีบริบูรณ์ เมื่อเกณฑ์คนนั้นได้คัดเอามาแต่ที่ล่ำสันหรือไม่ล่ำสันก็ได้ แต่ต้องให้พอจำนวนต้องการ (เหมือนเกณฑ์ทหาร) พวกที่เหลือไม่ต้องการใช้แรง ก็ได้รับอนุญาตให้ไปทำมาหากิน แต่ต้องส่งเงินมาให้หลวงใช้ หรือคนที่ถูกเกณฑ์ แต่ไม่ชอบรับใช้เจ้านาย ก็อาจจะส่งเงินให้หลวงเพื่อหาจ้างคนอื่นคนอื่นไปเข้าเกณฑ์แทนตนก็ได้ซึ่งต้องส่งไปจนถึงอายุ ๖๐ ปีเช่นกัน เงินนี้ เรียกว่า "ส่วนแทนแรง" อัตราที่จะเสียนั้นกำหนดไว้ว่าปี ละ ๑๒ บาท (อัตราสมัยพระนารายณ์) ที่เก็บสิบสองบาทนั้น หลวงอธิบายว่าเพื่อจ้างคนมาทำงานแทน โดยให้ค่าแรงเดือนละบาท ๖ เดือน ๖ บาท และให้ เบี้ยเลี้ยงอีกเดือนละบาท รวมทั้งสิ้น ๑๒ บาท ซึ่งว่ากันที่จริงแล้วก็ไม่ได้จ้างใคร หลวงเก็บเงินเข้าพระคลัง มหาสมบัติเงียบไปเลยเท่านั้นเอง

เรื่องอัตราจ้างคนรับราชการแทน หรือเสียเงินเป็นส่วยแทนแรงนี้ ตามที่ปรากฏในพระราชกำหนดเก่าบทที่ ๘๘ พ.ศ. ๒๒๙๑ (ปลายอยุธยา) ปรากฏว่าอัตราไม่คงที่ คืออัตราบางทีก็คิด ๓ บาทต่อเดือนบางทีก็ ๔ บาทต่อเดือน (ปีละ ๑๘-๒๔ บาท) ถ้าหากถูกเกณฑ์ไปล้อมช้าง, จับสลัด, จับผู้ร้าย คนที่ไม่ไปต้องเสียเงินในอัตรา ๕-๖-๗ บาทต่อเดือน หรือบางทีก็ ๘ บาทต่อเดือน "ถ้าจะคิด ไพร่ท้องหมู่ต้องเสียเงินค่าจ้างแต่ละปี เป็นเงิน ๔ ตำลึง ๒