หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/153

หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
 ๑๘๐  โฉมหน้าศักดินาไทย

"บรรดาจีนทั้งปวงที่ไม่ได้สัก ไม่มีจำนวนในทะเบียนหางเลขว่าวกรมพระสัสดีนั้น เกณฑ์ให้ทำการพระนครคนละเดือน ถ้าจะไม่ทำ ให้เสียเงินคนละตำลึง กับค่าฎีกาสลึงหนึ่งทุกคน ถ้าจีนคนใดจะไม่ให้ผูกปี้ที่ข้อมือ จะขอแต่ฎีกาเปล่าให้เสียเงินค่าจ่ายราชการตำลึงกึ่ง ค่าฎีกาสองสลึง"๙๘

เป็นอันว่าชาวจีนคนหนึ่งๆ จะต้องเสียเงินส่วย ๔.๒๕ บาททุกสามปีเป็นปกติ ถ้าหากไม่อยากให้ผูกปี้ ครั่งที่ข้อมือให้รุงรังก็ต้องเสียเงินเพิ่มเป็น ๖.๕๐ บาท อัตรานี้เป็นอัตราที่สูงกว่าสมัยรัชกาลที่ ๒ ตามที่จอห์น ครอเฟิดจดไว้ ปรากฏว่าในสมัยรัชกาลที่ ๒ บังคับเรียกจากชาวจีนปีละ ๕๐ สตางค์ เท่ากับพวกทาสกรรมกร ๓ ปี เก็บครั้งหนึ่งเป็นเงิน ๑.๕๐ บาท

ในภายหลังเมื่อได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติรัชชูปการแล้วพวกชาวต่างประเทศทุกคนในไทย ต้องเสียค่ารัชชูปการเท่ากับคนไทยไม่มีการลดราวาศอกอีกต่อไป

สถิติของเงินรัชชูปการเท่าที่หาได้ในขณะที่เขียนนี้ ในรัชกาลที่ ๖ เก็บได้ถึง ๗,๗๔๙,๒๓๓ บาท (พ.ศ. ๒๔๖๔)

ส่วยประเภทที่กล่าวมานี้เป็นส่วยประเภทตัวเงิน

ส่วยอีกอย่างหนึ่งเป็นส่วยสิ่งของที่รัฐบาลกษัตริย์ต้องการใช้ ไม่ยอมให้ไพร่ส่งสิ่งของเหล่านั้นเข้ามาถวายเป็นส่วยแทนการเข้ามารับราชการใช้แรงได้ ส่วยประเภทนี้มักมาจากหัวเมืองไกล เช่นเมืองพระยามหานคร ซึ่งในเมืองเหล่านั้น "ในเวลาปกติ ไม่ต้องการตัวไพร่เข้ามาประจำราชการมากเหมือนในราชธานีรัฐบาลจึงคิดให้มีวิธีส่งส่วยแทนเข้าเวร เพราะหัวเมืองเหล่านั้นมีป่าดง และภูเขาอันเป็นที่มีหรือที่เกิดสิ่งของต้องการใช้สำหรับราชการบ้านเมือง"๙๙ "ยกตัวอย่างดังเช่นยอมอนุญาตให้ราษฎรที่ตั้งภูมิลำเนา