หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/159

หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
 ๑๘๖  โฉมหน้าศักดินาไทย

ค่าธรรมเนียมหรือฤชาของรัฐบาลศักดินานั้นมีมากมายและพิสดารจนเหลือที่จะกล่าวให้ทั่วถึงได้เพราะมียุบยิบไปหมดทุกแห่ง จนแม้พวกชนชั้นศักดินาด้วยกันเองก็ถูกค่าธรรมเนียมทับถมเอาย่ำแย่ไปเช่นกัน เช่นผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองก็ต้องเสียค่าตราตั้ง ๙๖ บาท และยังค่าตราตั้งปลัด, ตั้งพล, ตั้งกรมการเมือง, วัง, คลัง, นา, มหาดไทย และสัสดีของเมือง รวมทั้งสิ้นตั้งเจ้าเมืองใหม่ กรมการเมืองทีหนึ่ง กษัตริย์เรียกค่าตราตั้ง ๑๕ ชั่ง (๑,๒๐๐ บาท)!๑๐๗

ค่าธรรมเนียมที่มีพิสดารและมากมายเช่นนี้ เนื่ องมาจากชนชั้นปกครองของศักดินาทั้งมวลในสมัยก่อนรัชกาลที่ ๕ ขึ้นไปมิได้มีเงินเดือน กษัตริย์เก็บภาษีอากรทั้งปวงเข้าพระคลังมหาสมบัติและแบ่งปันไปยังคลังของวังหน้าบ้าง ไปยังเจ้านายที่มีอิทธิพลมากๆ บ้าง แล้วก็เก็บเงียบ พวกข้าราชการทั้งหลายต้องออกหากินโดยเรียกค่าธรรมเนียมเอาจากประชาชน ไม่มีเงินเดือน ใครมีเล่ห์เหลี่ยมดี ล่อหลอกหรือใช้อำนาจบังคับเรียกค่าธรรมเนียมได้มากก็ได้ผลประโยชน์ใช้มาก ได้กินข้าวร้อนนอนสายมีเมียสาวหลายๆ คน ซึ่งลักษณะการปล่อยให้ขุนนางเที่ยวเก็บค่าธรรมเนียมกินนี้ ได้กลายมาเป็นการทุจริตในหน้าที่ขึ้นอย่างมหาศาล แต่เป็นการทุจริตที่ประชาชนรู้ไม่เท่าทัน และที่ทุกคนก็ทำเหมือนกันหมดจนกลายเป็นของถูกกฏหมายไปในที่สุด และยิ่งไปกว่านั้น พวกขุนนางที่เข้ารับตำแหน่งต่างๆ ก็มักจะทำงานเร็วหรือช้า ดีหรือเลว โดยขึ้นอยู่กับช่องทางที่จะเรียกค่าธรรมเนียม ถ้าจะเรียกอย่างปัจจุบัน ก็คือค่าน้ำร้อนน้ำชา! เช่น ขุนนางในแผนกตุลาการ คือพวกลูกขุน ก็มักจะใช้อุบายถ่วงความไว้ร้อยสีร้อยอย่าง ถ้าไม่มีค่าธรรมเนียม เรื่องก็ไม่เดิน "อธิบดีผู้ซึ่งบังคับการในกระทรวงนั้นๆ เล่า ก็ไม่ใคร่มีใครเป็นธุระใส่ใจที่จะให้ถ้อยความในกรมเบาบางไป ด้วยไม่