หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/164

หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
จิตร ภูมิศักดิ์  ๑๙๑ 

จะเรียกเก็บจังกอบ ๑๐ ชัก ๑ ฝ่ายเจ้าภาษีน้ำมันที่ออกใบอนุญาตก็รออยู่ข้างๆ ด่านนั้นด้วย พอเรือผ่านมาก็เก็บภาษีตามพิกัดของสินค้าเสียอีกครั้งหนึ่ง แล้วจึงจะขายได้ ถ้าเจ้าภาษีไปตั้งอยู่ห่าง ก็ต้องแวะท่าโรงภาษีเสียก่อน ไม่งั้นถูกหาว่าหนีภาษี ปรับ เจ็บยับเยินทีเดียว สถานที่เก็บจังกอบนั้น เรียกกันว่า ขนอน หรือ ด่าน มีทั้งขนอนบก ขนอนน้ำ ตั้งดักไว้ตามหนทางเข้าออกต่างๆ รอบเมือง ส่วนที่เก็บภาษีของเจ้าภาษีเรียกว่าโรงภาษี โดยมากเจ้าภาษีมักทำหน้าที่เป็นนายทุนนายหน้าผูกขาดด้วย หรือบังคับซื้อสินค้าประเภทที่ตนเก็บภาษีนั้นไว้ทั้งหมดเสียแต่ผู้เดียว ใครๆ ก็ต้องขายให้เจ้าภาษี แล้วเจ้าภาษีจึงนำออกขายแต่เอากำไรตามความพอใจ ข้อนี้ จะกล่าวต่อไปข้างหน้าในข้อที่ว่าด้วยอากรและการผูกขาดภาษี

๔) อากร

หมายถึงการเก็บชักส่วนผลประโยชน์ที่ราษฎรทำมาหาได้จากการทำงานด้านต่างๆ เช่น ทำนา, ทำไร่, ทำสวนนี่อย่างหนึ่ง หรืออีกอย่างหนึ่งมอบสิทธิ์สัมปทานให้แก่ประชาชนไปทำการบางอย่างโดยเรียกเงินเป็นค่าอากรผูกขาด เช่น การเก็บของป่า, จับปลาในน้ำ (อากรค่าน้ำ), ต้มกลั่นสุรา, ตั้งบ่อนเบี้ย (การพนัน), ตั้งโรงโสเภณี ฯลฯ ลักษณะการเก็บอากรมีดังนี้ :

อากรค่านา อากรค่านานี้ คือการเก็บจากชาวนาโดยตรง ชาวนาที่เช่านาเจ้าที่ดินจึงต้องเสียผลประโยชน์สองต่อ ต่อแรกเสียเป็นค่าเช่าให้แก่เจ้าของที่นา ต่อที่สองต้องเสียค่าอากรเช่านาให้แก่หลวง (คือกษัตริย์) การเสียอากรให้แก่หลวงนี้ ถือเป็ นการเสียค่านาแทนเจ้าของนา นั่นคือ เจ้าของที่นาไม่ต้องเสียภาษีที่ดินให้แก่กษัตริย์ ชาวนาหรือไพร่เสียภาษีแทนให้เสร็จทีเดียว รัชกาลที่