หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/168

หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
จิตร ภูมิศักดิ์  ๑๙๕ 

ความขัดแย้งครั้งใหญ่ของชนชั้นศักดินาซึ่งมีประชาชนพวกไพร่ส่วนหนึ่งรวมอยู่ในฝ่ายที่ต้องเสียผลประโยชน์ด้วย ทำให้กษัตริย์ต้องปรับปรุงวิธีเก็บอากรค่านาใหม่ จึงทำให้เกิดการเก็บอากรค่านาอย่างใหม่ขึ้น โดยมีการเก็บอากรเป็นสองประเภทเรียกว่า "นาคู่โค" อย่างหนึ่งและ "นาฟางลอย" หรือ "นาน้ำฝนฟางลอย" อีกอย่างหนึ่ง

"นาคู่โค" คือนาที่กษัตริย์เรียกเก็บอากรตามขนาดเนื้อที่ที่มีในกรรมสิทธิ์ แต่การจะเก็บโดยปริมาณเนื้อที่ตามจำนวนไร่ที่มีอยู่ในครอบครอง พวกเจ้าขุนมูลนายที่ครอบครองนาจำนวนมหาศาลก็ไม่พอใจ จึงต้องยักย้ายวิธีให้เป็นที่ตกลงกันได้ทั้งสองฝ่าย กล่าวคือนับจำนวนวัวหรือควายที่ใช้ในการไถนา แล้วประเมินว่าวัวหรือควายคู่หนึ่งจะทำนาในที่นั้นได้ผลปี ละเท่าไร แล้วคิดอากร โดยถือวัวควายเป็นเกณฑ์ วิธีนี้พวกเจ้าที่ดินพอรับเงื่อนไขได้ เพราะเวลาทำนาจริง ตัวยังเกณฑ์เอาวัวควายของพวกเลกพวกไพร่มาช่วยทำได้อีก ผลที่ได้เป็นผลส่วนเกินก็ไม่ต้องเสียอากร ได้กินอย่างเหนาะๆ ปีละไม่น้อย นาประเภทนี้เมื่อข้าหลวงเสนาออกมาสำรวจเดินนาแล้วก็จะออกโฉนดตีตราด้วยชาดสีแดงให้เป็นสำคัญในการเสียอากรเรียก ว่า "ตราแดง" หรือ "โฉนดตราแดง"

เมื่อกล่าวถึง "โฉนด" ณ ที่นี้แล้วก็จะขออธิบายเพิ่มเติมเสียด้วยว่า ที่เรียกว่าโฉนดๆ ในสมัยก่อนนั้น มิได้หมายถึงหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน หากหมายถึงหนังสือสำคัญที่ระบุปริมาณของที่ดินและระบุจำนวนอากรที่จะต้องเสียตามขนาดของที่ดิน พวกข้าหลวงเสนาของกรมนาเอาหนังสือนี้ ไว้ให้แก่ผู้ทำนา เวลามาเก็บอากรก็เรียกโฉนดออกมาดู แล้วเก็บตามนั้น ส่วนที่ใดไม่มีโฉนดบอกที่ดินบอกจำนวนอากร ผู้ครอบครองก็ถูกข้อหาบุกเบิกที่โดยพลการไม่แจ้งในหลวงมีเจตนาหนีภาษีอากรทำให้ผลประโยชน์หลวง