หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/17

หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
 ๔๔  โฉมหน้าศักดินาไทย

และต่อสู้กับระบบผูกขาดของศักดินา พวกนี้คือพวกชนชั้นใหม่ของสังคมที่เรียกกันว่า ชนชั้นกลาง (Middle Class) หรือพวก กระฎุมพี (Bourgeoisie) กำลังของพวกนี้ขยายออกไปอย่างกว้างขวางทุกขณะ ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นกลางกับศักดินาดําเนินไปอย่างรุนแรงถึงขนาดเข้าขั้นแตกหัก (Antagonism) การปฏิวัติเพื่อโค่นล้มระบบศักดินาจึงเกิดขึ้นซึ่งครั้งที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ก็คือการปฏิวัติฝรั่งเศสปี ค.ศ. ๑๗๘๙

พวกหัตถกรเอกระในยุคปลายของศักดินานี้ ได้พยายามปรับปรุงเครื่องมือในการผลิตของตนให้ก้าวหน้าขึ้นอีกระดับหนึ่ง และเมื่อกำลังของพวกนี้ขยายกว้างขวางออกเป็นชนชั้นกลาง ปัญญาชนของชนชั้นนี้ก็ได้ประดิษฐ์เครื่องจักรกลขึ้นสําเร็จ การผลิตทางหัตถกรรมจึงได้กลายเป็นการอุตสาหกรรม นั่นคือ การปฏิวัติใหญ่ทางอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ในยุโรปอันเริ่มเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ ต่อ ๑๙ เมื่อเป็นเช่นนี้ ระบบผูกขาดการค้าของศักดินา อันเป็นการผูกขาดทางเกษตร และหัตถกรรมซึ่งผลิตโดยเครื่องมืออันล้าหลังเก่าแก่จึงทลายครืนลง เปิดช่องทางให้ระบบ การค้าแบบเสรีนิยม (Liberalism) หรือ มือใครยาวสาวได้สาวเอา (Laissez Faire) ของพวกชนชั้นกลางซึ่งพวกนี้ได้กลายมาเป็น ชนชั้นนายทุน (Capitalist) และสถาปนาระบบผลิต ทุนนิยม (Capitalism) ขึ้นในที่สุด นี่คืออวสานของระบบศักดินาในด้านหัตถกรรมและการผูกขาดการค้าอันเป็นพัฒนาการขั้นสุดยอดของเศรษฐกิจศักดินา

๗) สภาพการผลิตขั้นสุดท้ายของระบบศักดินาทางเกษตร ก็คือ การเกษตรล้าหลัง และการล้มละลายของชาวนา