หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/170

หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
จิตร ภูมิศักดิ์  ๑๙๗ 

การลงโทษอย่างหนักราวกับโจรปล้นทรัพย์ (ริบเรือน, ริบราชบาตร) หรือราวกับกบฏ (ฟันคอ) เช่นนี้ ทำให้ประชาชนต้องขวนขวายมาขอโฉนด "จึงเห็นได้ประจักษ์ว่าการที่ปฏิบัติให้มีโฉนดนั้นเพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีอากร ไม่มีประสงค์อย่างใดที่จะให้เจ้าของมีหลักฐานแสดงสิทธิ์ของตน การออกโฉนดจึงได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของพระคลัง หาใช่เพื่อประโยชน์แห่งเจ้าของที่ไม่"๑๑๐

การออกโฉนดแบบนี้ ได้มาเร่งรัดให้รัดกุมทั่วถึงกันอีกครั้งหนึ่งในสมัยอยุธยาตอนปลายในสมัยพระเจ้าบรมโกษฐ์๑๑๑ โฉนดแบบที่เป็นใบสำคัญเก็บภาษีนี้ได้ใช้มาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ การออกโฉนดอย่างใหม่เพิ่งมาเริ่มขึ้น เมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๔๕ (รัชกาลที่ ๕) นี้ เอง๑๑๒

การออกโฉนดอย่างใหม่ที่เริ่มทำในครั้งนั้น ได้เริ่มงานเป็น ๓ ขั้นคือ

๑. ตั้งข้าหลวงเกษตรออกสำรวจไต่สวนหลักฐานของบรรดาเจ้าของที่ในแต่ละเขต

๒. ตั้งหอทะเบียนสำหรับเก็บโฉนดใหม่

๓. ยกเลิกหนังสือสำคัญเก่าแก่ทั้งปวง และออกใหม่แทน

ครั้นถึง พ.ศ. ๒๔๕๑ จึงได้ออก "พระราชบัญญัติการออกโฉนดที่ดิน ร.ศ. ๑๒๗" (วันที่ ๖ มีนาคม ๒๔๕๑) ประชาชนจึงได้เริ่มมีกรรมสิทธิเหนือที่ดินมาแต่นั้น

"นาฟางลอย" นาพวกนี้เป็นนาในที่ดอน น้ำท่วมไม่ถึง ต้องพึ่งน้ำฝนอย่างเดียว ถ้าฝนไม่ตกนาก็แล้งทำนาไม่ได้ ผิดกับนาคู่โคอันเป็นนาดี ซึ่งอาจทดน้ำทำระหัดวิดน้ำเข้านา ทำนาได้โดยไม่ต้องรอฝน พวกนาดอนนี้จึงเรียกว่านาน้ำฝน เวลาข้าหลวงมาประเมินนา ก็จะมาดูว่าที่นานั้นๆ ทำนาได้จริงเท่าใด โดยสังเกตดูตอฟางเป็น