หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/173

หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
 ๒๐๐  โฉมหน้าศักดินาไทย

จ่ายข้าวสารเสบียงคนละ ๑๐ ทะนาน และจ่ายจัดซื้อไม้เพิ่มเติมไม่เกณฑ์ตัดให้ทันการณ์ สิ้นพระราชทรัพย์ ๕๐ ชั่งเศษโดยทรงพระมหากรุณาช่วยนาของราษฎร ทั้งแขวงกรุงเก่าแลลพบุรี แลอ่างทองตามกำลังจะทำได้ เป็นพระเดชพระคุณแก่ราษฎรอยู่ ควรราษฎรจะคิดถึงพระเดชพระคุณอย่าต้องให้ลำบากนัก"๑๑๖

นี่คือประกาศที่รัชกาลที่ ๔ ทรงเขียนเองด้วยพระหัตถ์ ที่ว่าขอให้คิดถึงพระเดชพระคุณบ้างอย่าให้ต้องลำบากมากนักนั้น หมายถึงความลำบากของกษัตริย์ในการเก็บอากรหางข้าว เนื่องมาจากน้ำแล้งทำนาไม่ได้ผลประชาชนร้องทุกข์กันมากว่า เก็บอากรค่านาแรงจนเกินควร

ที่คุยว่าอุตส่าห์ลงทุนทำคันปิดน้ำเสีย "พระราชทรัพย์" ไปถึง ๕๐ ชั่งเศษ (๔,๐๐๐ บาทเศษ) นั้นดูเป็นเงินจำนวนใหญ่โตที่จะต้องทวงบุญทวงคุณกันเสียจริงๆ แต่ถ้าจะเทียบดูผลประโยชน์บ้างก็จะเห็นได้ว่าในแขวงกรุงเก่า ลพบุรี และอ่างทองที่ได้ช่วยกันน้ำไว้ให้นั้น "คิดจำนวนนาถึง ๓๒๐,๐๐๐ ไร่เศษ... ค่านา ๓๒๐,๐๐๐ ไร่นั้น เมื่อเรียกไร่ละสลึงเฟื้องได้เงินปีละ ๑,๕๐๐ ชั่ง เมื่อเรียกไร่ละสลึงได้เงินปี ละ ๑,๐๐๐ ชั่ง" (จากประกาศฉบับเดียวกัน) รายได้ปีละ ๑,๐๐๐ ชั่งถึง ๑,๕๐๐ ชั่ง (๘๐,๐๐๐-๑๒๐,๐๐๐ บาท) ได้มาตลอดนับสิบๆ ปี เมื่อมาเสียค่าปิดกั้นน้ำเข้าทีหนึ่งก็ดูบ่นอุบอิบทวงบุญทวงคุณเอาเสียจริงจัง ทั้งๆ ที่การไปปิดน้ำคราวนั้น ก็เป็นผลประโยชน์ของชนชั้นศักดินาโดยตรง คือ ถ้าทำข้าวได้ตนก็ได้หางข้าว และเงินที่ ลงทุนไปปิดน้ำเพียง ๔,๐๐๐ บาทนั้น ก็เป็นเงินจากอากรค่านาที่เก็บจากประชาชนไร่ละสลึงหรือสลึงเฟื้องนั่นเอง

ข้อที่ว่าเงินนั้นมาจากภาษีอากรนี้ศักดินาใหญ่ก็รู้เจนอยู่ในใจ เวลาพวกเจ้านายฉ้อโกงเงินภาษีที่ควรเก็บส่งหลวงหรือใช้อิทธิพล