หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/175

หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
 ๒๐๒  โฉมหน้าศักดินาไทย

ปีเถาะ จ.ศ. ๑๑๙๓ (พ.ศ. ๒๓๗๔) ปีนี้น้ำท่วม ข้าวแพงเกวียนละ ๘ ตำลึง

ปีมะเส็ง จ.ศ. ๑๑๙๕ (พ.ศ. ๒๓๗๖) เดือน ๘ ฝนแล้ง ข้าวแพงเกวียนละ ๗ ตำลึง ๒ บาท

ปีเถาะ จ.ศ. ๑๒๐๕ (พ.ศ. ๒๓๘๖) ปีนี้ข้าวแพงตั้งแต่เดือน ๑๒ จนถึงเดือน ๔ ข้าวสารถังละบาท เป็นไข้ตายกันมาก น้ำก็น้อยทำนาไม่ได้ (คัดจากประชุมพงศาวดารภาคที่ ๘)

เราย้อนมาเข้าเรื่องอากรค่านาของเราต่อไป

การขูดรีดของศักดินานอกจากจะเก็บค่าหางข้าวกินเปล่าไร่ละ ๒ ถัง โดยที่มิได้ช่วยเหลือตอบแทนอะไรเลยแล้ว ยังบังคับซื้อเป็นราคาหลวงอีกไร่ละ ๒ ถัง โดยให้ราคาถังละ ๖ สตางค์ การบังคับซื้อนี้ พวกไพร่ต้องเสียผลประโยชน์มากกว่าใคร เพราะราคาขายทั่วไปถังละ ๑๐-๑๒ สตางค์ ราคาหลวงที่บังคับซื้อตัดลงตั้งครึ่ง พวกไพร่ที่เช่นนาทำจึงต้องเสียสามต่อ คือ ๑) อากรค่านาให้หลวง (กษัตริย์) ๒) ค่าเช่าให้เจ้าที่ดิน ๓) เสียเปรียบในการบังคับซื้อ! ส่วนพวกเจ้าที่ดินที่มีที่ให้เช่าไม่เดือดร้อนเลย คงได้ตามปกติ ส่วนพวกที่ได้บ่าวไพร่ทำนาหรือเกณฑ์เลกมารับใช้ทำนาฟรีๆ ก็ไม่เดือดร้อนอะไรที่จะต้องเสียหางข้าวเล็กๆ น้อยๆ นับว่าพวกเจ้าที่ดินและเจ้าขุนมูลนายมีแต่ทางได้เพียงประตูเดียวตลอดปี

การเก็บอากรหางข้าวขึ้นฉางหลวงไร่ละสองถังบังคับซื้อสองถังโดยให้ราคาถังละ ๖ สตางค์นี้ ได้ใช้มาจนถึงรัชกาลที่ ๓ แต่ผลประโยชน์ที่เก็บได้นั้นไม่พอจ่าย "ราชการ" ซึ่งแปลว่าการของพระเจ้าแผ่นดิน๑๑๗ นโยบายสงครามของรัชกาลที่ ๓ ทำให้ "มีศึกสงครามจำเป็นต้องการเงินใช้ราชการมากกว่าแต่ก่อน๑๑๘ รัชกาลที่ ๓ จึงแก้ไขวิธีเก็บภาษีอากรใหม่ คือ เก็บภาษีอากรค่านาเป็นตัว