หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/186

หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
จิตร ภูมิศักดิ์  ๒๑๓ 

ภาษีด้วยอำนาจบ้าง เรียกภาษีเกินพิกัดอัตราบ้าง พวกประชาชนที่ทำการจับปลาก็ต้องเดือดร้อนกันไปตามเพลง ชนชั้นศักดินาก็คอยแต่จะนั่งเสวยบุญกินอากรของพวกมิจฉาชีพไปตามสบาย

"อากรสุรา" นอกจากภาษีอากรหลักๆ คืออากรค่านาหางข้าว อากรสวนใหญ่ อากรค่าน้ำ สามประเภทนี้ แล้วยังมีภาษีอากรอีกมากมายหลายอย่าง เช่น อากรสุรา รายได้จากอากรประเภทนี้สูงมาแต่โบราณ ในสมัยพระนารายณ์เก็บเทละ ๑ บาท ถ้าเมืองใดไม่มีเตาต้มกลั่นเหล้าผูกขาดภาษี ประชาชนก็ต้องต้มกันเองตามอำเภอใจ ในหลวงเรียกเก็บอากรสุราเรียงตัวคน (ชายฉกรรจ์) คนละ ๑ บาทรวด รายได้จากอากรสุราสูงมากมาแต่ไหนแต่ไร ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ตามการสำรวจของสังฆราชปัลเลอกัวซ์ ภาษีสุราสูงถึง ๕๐๐,๐๐๐ บาท ต่อมาในสมัยศักดินาของการปฏิวัติของชนชั้นกลาง พ.ศ. ๒๔๗๕ อากรประเภทนี้สูงนับจำนวนสิบๆ ล้านบาท (พ.ศ. ๒๔๖๗ ได้ ๑๑,๙๒๙,๕๕๑ บาท ๖๒ สตางค์)

"อากรโสเภณี" อากรที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งที่ลาลูแบร์จดไว้ว่าเพิ่งเริ่มตั้งขึ้นเมื่อครั้งพระนารายณ์ก็คืออากรโสเภณี โดยอนุญาตให้ออกญาแบนตั้งโรงหญิงนครโสเภณีขึ้น โสเภณีที่กล่าวถึงนี้เดิมก็คงจะมีอยู่แล้วนมนาน แต่กษัตริย์เห็นว่ามีรายได้ดี ลูกค้ามาก จึงคิดเก็บตั้งโรงโสเภณีผูกขาดขึ้นอีกประเภทหนึ่ง ในหนังสือจดหมายเหตุเก่าว่าด้วยภูมิสถานเมืองนครศรีอยุธยามีจดไว้ว่าพวกผู้หญิงโสเภณีอยู่ในย่านที่เรียกว่า "สำเพ็ง"๑๒๑ เมื่อย้ายกรุงลงมาอยู่กรุงเทพฯ ก็ยังยืมเอามาเรียกย่านหญิงโสเภณีว่าสำเพ็งอยู่อีกนาน (สำเพ็งในสมัยนั้นจึงมีความหมายไม่ค่อยดี พวกพ่อแม่ที่ด่าลูกว่า "อีดอกสำเพ็ง" ก็มาจากสภาพชีวิตเช่นนี้เอง)

อาชีพโสเภณีในยุคศักดินาก็มีลักษณะเดียวกับในยุคทุนนิยม