หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/19

หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
 ๔๖  โฉมหน้าศักดินาไทย

ใช้ในการทำนาของตน ก็ไม่สามารถจะทำหรือซื้อหาได้ เพราะปราศจากเงินก้อนจะลงทุน ด้วยเหตุนี้ สภาพชีวิตจึงแร้นแค้น การกู้ยืมอันหลีกเลี่ยงไม่ได้ ได้นําชาวนาไปสู่การเป็นลูกหนี้ และการขูดรีดอีกชั้นหนึ่ง เมื่อหนี้สินรุงรัง ดอกเบี้ยท่วมท้น ที่ดินก็ตกเป็นของเจ้าของเงินไป ชาวนาเอกระกลายสภาพเป็นชาวนาล้มละลาย พวกชาวนาเช่าที่ก็ต้องประสบกับปัญหาการเป็นทาสดอกเบี้ยเงินกู้ และความอดอยากยากแค้นเช่นเดียวกับพวกเลก พวกไพร่ และพวกทาส ซึ่งได้รับการปลดปล่อยในชั้นหลังๆ เมื่อเป็นไทแก่ตัวก็ต้องเผชิญหน้ากับความทุกข์ยากและการล้มละลายเช่นเดียวกัน ในที่สุดพวกนี้ก็พากันละทิ้งถิ่นฐานบ้านเกิดและที่นาเข้ามาแสวงหาชีวิตในเมืองอุตสาหกรรมโดยการขายแรงงานให้แก่พวกนายทุนอุตสาหกรรม นั่นก็คือชาวนาได้ล้มละลายกลายสภาพไปเป็นชนชั้นกรรมาชีพของสังคมทุนนิยมไปในที่สุด นี่คือพัฒนาการขั้นท้ายสุดอันเป็นสภาพถอยหลัง และเป็นอวสานแห่งระบบผลิตทางเกษตรของเศรษฐกิจศักดินา

เศรษฐกิจของศักดินาได้พัฒนาผ่านระบบศักดินาในยุคต้นไปสู่ระบบศักดินาในยุคสุดยอด และไปสู่ระบบศักดินาในยุคขัดแย้งถอยหลัง และแล้วก็สลายตัวถูกโค่นล้มไปในที่สุด นั่นเป็นกฏทางภววิสัยอันหลีกเลี่ยงไม่ได้ของระบบเศรษฐกิจที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการขูดรีดระหว่างชนชั้น ไม่ว่าจะเป็นระบบใดทั้งสิ้น

ค. ลักษณะทางการเมืองของระบบศักดินา

ลักษณะทางการเมือง, หรืออีกนัยหนึ่งลักษณะของการต่อสู้ระหว่างชนชั้น เพื่อเข้าถือสิทธิในปัจจัยแห่งการผลิตและเพื่อจัดสรรผลประโยชน์ที่ได้จากปัจจัยแห่งการผลิตของยุคศักดินามีดังต่อไปนี้ คือ

๑) การต่อสู้ทางชนชั้นระหว่างชนชั้นศักดินา (เจ้าขุนมูลนาย