หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/195

หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
 ๒๒๒  โฉมหน้าศักดินาไทย

ก็พิมพ์พิกัดอัตราภาษีแจกเป็นการใหญ่ เพื่อกันมิให้เจ้าภาษีนายอากรเก็บภาษีเกินพิกัด ทั้งนี้คงจะลืมนึกไปว่าต้นเหตุใหญ่นั้นมันอยู่ที่ระบบผูกขาดภาษีนั่นต่างหาก แต่อย่างไรก็ดีการพิมพ์พิกัดแจกนั้น ศักดินาถือว่าเป็นการแสดงให้เห็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้นอย่างหนึ่ง แต่ใครจะเชื่อได้สักกี่คน เพราะมีความจริงอักอันหนึ่งปรากฏอยู่ คือ :

ในการเก็บภาษีนั้น เจ้าภาษีต่างก็หวังจะให้ได้กำไรมาก จึงใช้อำนาจเกาะกุมเอาตามอำเภอใจ มักเป็นถ้อยเป็นความกับประชาชนผู้ฉลาดรู้เท่าทันหรือผู้ไม่มีเงินจะเสียเนืองๆ พอเป็นความเข้า เจ้าภาษีนายอากรก็ต้องไปศาล ว่าความของตน ทั้งนี้ เพราะในสมัยก่อนนั้นประชาชนธรรมดาจะแต่งทนายว่าความแทนตัวไม่ได้ต้องเป็นขุนนางมียศชั้นขุนถือศักดินา ๔๐๐ ไร่ขึ้นไป จึงจะให้ทนายว่าความแทนตัวได้ พวกศักดินาก็หากินอยู่กับนายหน้าผูกขาดเหล่านี้ จึงต้องเอาใจใส่ช่วยเหลือดูแลผลประโยชน์ให้ เพราะทั้งคู่ต่างมีผลประโยชน์ร่วมกัน นั่นก็คือใครที่ผูกขาดภาษีจะได้รับแต่งตั้งให้เป็นขุนถือศักดินา ๔๐๐ ไร่๑๒๕ เพื่อที่จะได้มีอภิสิทธิ์ว่าจ้างทนายไปว่าความแทนตัวได้ ไม่เสียเวลาออกไปรีดภาษี นี่ย่อมยืนยันให้เห็นว่าชนชั้นศักดินาย่อมใช้สิทธิและอภิสิทธิ์ทั้งปวงเพื่อรับใช้ชนชั้นตนอยู่ตลอดไป

เจ้าภาษีกลายเป็น "นายทุนนายหน้าผูกขาด" (monopoly-comprador capitalist) ที่อาศัยอำนาจของชนชั้นศักดินาหากินขูดรีดประชาชน ขอยกตัวอย่างด้วยภาษีน้ำมันมะพร้าว

โดยปกติราคามะพร้าวตกอยู่ในราวร้อยละ ๕๐ สตางค์ (สองสลึง) หรือถูกหน่อยก็ ๒๗ สตางค์ (สลึงเฟื้อง) เจ้าภาษีขอผูกขาดรับซื้อมะพร้าวแต่ผู้เดียวโดยเข้าถึงสวน ให้ราคาร้อยละ