หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/196

หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
จิตร ภูมิศักดิ์  ๒๒๓ 

๖๒ สตางค์ (สองสลึงเฟื้อง) ฟังดูแค่นี้ ก็ทำท่าจะดีมีประโยชน์แก่เจ้าของสวนมะพร้าว เพราะขายได้ราคา แต่เรื่องมันไม่เป็นเช่นนั้น พวกเจ้าภาษีพอไปซื้อมะพร้าวในสวนเข้าจริงๆ ก็ซื้อถูกๆ ให้ราคาไม่ถึงอัตราที่สัญญาไว้กับกษัตริย์ ซ้ำยังเกณฑ์เอามะพร้าวแถมอีกร้อยละ ๒๐-๓๐ ผล ครั้นประชาชนขัดขืนไม่ขาย ก็มีผิดฐานขัดขืนเจ้าภาษี เจ้าภาษีก็ "เที่ยวจับปรับไหมลงเอาเงินกับราษฎร โดยความเท็จบ้างจริงบ้าง ราษฎรได้รับความเดือดร้อนต่างๆ" (ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔ ภาค ๓)

บทบาทที่เจ้าภาษีจะเป็นนายหน้าผูกขาดใหญ่ก็คือ เมื่ออาละวาดซื้อมะพร้าวมาได้ในอัตราร้อยละ ๖๒ สตางค์แล้ว (ซึ่งที่จริงไม่ถึงดังที่กล่าวมา) ก็เอามาขายส่งให้ผู้ที่จะทำน้ำมันมะพร้าวโดยขายเอากำไรเท่าตัว คือขายให้ร้อยละ ๑.๒๕ บาท (ห้าสลึง) พวกพ่อค้าน้ำมันมะพร้าวก็ยอมรับซื้อโดยดี เพราะถ้าไม่ซื้อจากเจ้าภาษีผู้ผูกขาดก็ไม่รู้จะไปซื้อที่ใคร ที่ยอมซื้อแพงหูฉี่ก็เนื่องด้วย "น้ำมันมะพร้าวเป็นสินค้าใหญ่บรรทุกไปขายต่างประเทศมีกำไรมาก" (ประชุมประกาศรัชกาลที่ ๔ ภาค ๓ ฉบับเดียวกับข้างต้น) คราวนี้ในฝ่ายพวกประชาชนที่ต้องซื้อน้ำมันมะพร้าวใช้ก็ต้องซื้อแพงหูฉี่ เพราะเจ้าภาษีทำเอามะพร้าวแพงขึ้นไปตั้งเท่าตัวมาเสียตั้งแต่ในสวน พวกนี้บ่นไปก็มีแต่คนสมน้ำหน้าที่มันขี้เกียจไม่รู้จักปลูกมะพร้าวทำน้ำมันใช้เอง แต่ขืนไปเคี่ยวน้ำมันมะพร้าวเองก็ถูกเจ้าภาษีปรับถึง ๕๐๐ บาท! ส่วนในหลวงท่านก็ขออภิสิทธิ์ให้สงวนน้ำมันไว้เป็นส่วยส่งขึ้นมาใช้ในราชการคือ ตามไฟในวัดพระแก้วและแจกไปให้วัดต่างๆ ฯลฯ ท่านไม่เดือดร้อน ผู้เดือดร้อนก็คือมหาชนตามเคย, ทำน้ำมันเองไม่ได้ต้องซื้อเขาใช้แพงลิบตลอดชาติ

ความเดือดร้อนในเรื่องมะพร้าวนี้ระอุไปทั่วเมืองจนใน