หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/27

หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
 ๕๔  โฉมหน้าศักดินาไทย

การนําของชนชั้นอื่น ในยุคต้นๆ ของศักดินาขณะที่ชนชั้นกลางยังไม่มีบทบาท การจลาจลของชาวนาก็มักจะถูกพวกชนชั้นเจ้าที่ดินที่ขัดแย้งกับอํานาจการปกครองเดิม นําไปใช้ให้เป็นประโยชน์ พวกเจ้าที่ดินที่ขัดแย้งกันได้อาศัยความจัดเจนฉกฉวยเอากําลังของชาวนาไปเป็นของตน โดยการตั้งคําขวัญใหม่ที่เหมาะสมให้เป็นความหวังแก่ชาวนา เป็นต้นว่า "กษัตริย์องค์เดิมไม่ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม ขอให้พวกเราจงช่วยกันสนับสนุนผู้มีบุญและมีทศพิธราชธรรมคนใหม่" หรืออะไรทํานองนี้ ซึ่งก็ได้ผล เพราะทําให้ชาวนาหันมาเข้าด้วยโดยหวังในชีวิตใหม่ที่ดีกว่า นั่นก็คือชาวนายังยึดมั่นอยู่ในความสุขที่มาจากการประทานให้ของตัวบุคคล มิได้มองเห็นกําลังของชนชั้นตน วิธีการอีกอย่างหนึ่งของชนชั้นศักดินาที่จะใช้กําลังของพวกชาวนาให้เป็นประโยชน์ ก็คือเข้าแทรกซึมเข้าไปในขบวนการเคลื่อนไหวจลาจลของชาวนา แล้วก็ค่อยๆ ยึดอํานาจทางการเมืองกลับคืนเข้ามาไว้ในกํามือของพวกตน ตกลงผู้ที่ได้รับผลจากการจลาจลของชาวนาก็คือพวกชนชั้นศักดินานั่นเอง เคล็ดลับในการผลัดเปลี่ยนแผ่นดินหรือราชวงศ์ใหม่ของสังคมศักดินาที่เป็นมาในประวัติศาสตร์ ก็อยู่ที่ความจริงที่กล่าวนี้

ครั้นถึงสมัยที่สังคมศักดินาได้พัฒนามาจนถึงขั้นที่ได้มีรูปการผลิตแบบทุนนิยมเกิดขึ้น และชนชั้นกลางได้ลุกขึ้นต่อสู้กับชนชั้นศักดินา ชนชั้นชาวนาก็มักจะเดินตามการนําของชนชั้นกลาง การต่อสู้ของพวกชาวนาในระยะนี้ จะประสานกันกับการต่อสู้ของชนชั้นกลางในเมือง และพวกชนชั้นกลางก็จะฉกฉวยเอาการจลาจลของชาวนาไปเป็นประโยชน์แก่ตนเสมอ ท่าทีของพวกชนชั้นกลางนั้นมีอยู่เด่นชัดประการหนึ่ง กล่าวคือท่าทีประนีประนอม พวกชนชั้นกลางเมื่อได้รับชัยชนะในการต่อสู้แล้ว ก็มักจะประนีประนอมกับพวก