หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/38

หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
จิตร ภูมิศักดิ์  ๖๕ 

พับไว้" ไว้รอรับความหื่นกระหายของผัว พูดง่ายๆ ก็คือเรียนวิชาปรนนิบัติผัว เด็กชายก็ร่ำเรียนเพื่อให้เป็น "ขุนศึก" เป็น "อัศวิน" เป็น "ทหารเสือ"

ลักษณะนี้ก่อให้เกิดประเพณีหวงวิชากันขึ้นอย่างแพร่หลาย อาจารย์เจ้าสํานักจะหวงแหนวิชา เลือกถ่ายทอดให้เฉพาะศิษย์ก้นกุฏิที่รักใคร่และเห็นว่าสัตย์ซื่อ สามัญชนทั่วไปจึงไม่มีโอกาสร่ำเรียน เฉลียวฉลาดอย่างดีก็เพียงอ่านออกเขียนได้ กวีศิลปิ นและผู้มีความรู้ต่างๆ ส่วนมากจึงมักอยู่ในราชสํานักและวังของเจ้าขุนมูลนายทั้งสิ้น

อีกประการหนึ่ง การศึกษาของศักดินาเป็นการศึกษาที่สอนให้คน "ยอมรับ" (accept) กล่าวคือมิได้เปิดโอกาสให้ศิษย์คิดเสียก่อน เมื่อเห็นจริงแล้วจึงเชื่อ หากสอนให้เชื่อโดยไม่ต้องคิด ทั้งนี้ เพื่อปิดทางความคิดริเริ่มทั้งปวงอันจะนําไปสู่หายนะแห่งชนชั้นศักดินา

การผูกขาดการศึกษา และวิธีสอนให้คนยอมรับ (accept) แบบนี้ เมื่อพัฒนามาจนถึงขั้นสุดยอด ก็ต้องปะทะเข้ากับพลังแห่งความคิดแบบ "เสรีนิยม" ของชนชั้นกลาง การค้าขาย การอุตสาหกรรม การติดต่อธุรกิจ ฯลฯ ของพวกชนชั้นกลางบังคับให้ชนชั้นกลางต้องสร้างคนที่เฉลียวฉลาดว่องไว มีความคิดริเริ่ม และมีความรู้รอบด้านชึ้น พลังของการผูกขาดวิชากับพลังของการเปิดตลาดวิชาอย่างเสรีจึงปะทะกันอย่างรุนแรง ฝ่ายศักดินาได้พยายามกีดกันการก่อตั้งสถาบันการศึกษาของชนชั้นกลางอย่างเต็มความสามารถ แต่ผลที่สุดก็ไม่สามารถขวางกงล้อแห่งประวัติศาสตร์ได้ สถาบันการศึกษาของชนชั้นกลางจึงถือกําเนิดขึ้น

แต่! เล่ห์เหลี่ยมและความจัดเจนของศักดินาที่สั่งสมมานับพันๆ ปี มีสูงกว่าชนชั้นกลาง และประกอบกับชนชั้นกลางที่มีท่าทีประนีประนอม ศักดินาจึงสามารถแทรกแซงเข้าไปในสถาบัน