หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/49

หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
 ๗๖  โฉมหน้าศักดินาไทย

ความพยายามของตนที่จะพัฒนาเทคนิคเป็นความพยายามที่ไร้ผลตอบแทน สิ่งที่จะได้รับก็คือเลือดและความทุกข์ยากเช่นเดิม เหตุนี้ทําให้นายทาสเริ่มหาวิธีแก้ไข จุดประสงค์ในการแก้ไขของนายทาสก็คือ

๑. ผ่อนคลายความเคียดแค้นของพวกทาส ล่อหลอกเอาใจให้พวกทาสลืมการต่อสู้

๒. เพื่อให้พวกทาสพัฒนาการผลิตให้ก้าวหน้าไปอีกระดับหนึ่งซึ่งวิธีนี้ตนก็จะได้รับผลประโยชน์มากขี้นกว่าเดิม

วิธีแก้ไขก็คือ เริ่มปูนบําเหน็จทาสที่ทํางานดีโดยมอบที่ดินและปัจจัยในการผลิตอื่นๆ ให้เป็นสมบัติของทาสและพร้อมกันนั้นก็ปลดปล่อยทาสให้เป็นไท คือเป็นอิสรชน แต่ยังมีเงื่อนไขว่าจะต้องอยู่บนผืนดินนั้นโยกย้ายไม่ได้ ต้องขึ้นทะเบียนเข้าสังกัดของนายทาสเดิมต่อไป ผลิตผลที่ได้เป็นกรรมสิทธิของทาส แต่ทาสจะต้องส่งส่วยหรือผลประโยชน์ให้แก่นายเก่าเป็นการตอบแทนเสมอไปตามอัตราที่ตกลงกัน ซึ่งอาจจะเป็น ๕๐-๘๐ เปอร์เซ็นต์ และเมื่อนายทาสมีงานการพิเศษก็จะต้องมาลงแรงช่วยงานด้วย ดังนี้ความสัมพันธ์ในการผลิตจึงเปลี่ยนไปจากเดิม นั่นคือเริ่มมีอิสรชนที่ทํางานอิสระด้วยตนเอง แต่ส่งส่วยเป็นค่าเช่าที่ดินให้เจ้าขุนมูลนายผู้เป็นเจ้าของปัจจัยแห่งการผลิต (คือที่ดิน) นี่คือระบบไพร่และเลก เมื่อที่ดินกลายเป็นปัจจัยแห่งการผลิตที่เด่นขึ้น อิสรชนกับนายทาสสัมพันธ์กันโดยมีที่ดินเป็นสื่อกลาง มิใช่สัมพันธ์กันทางตัวบุคคลเช่นที่เป็นมา ความสัมพันธ์ในการผลิตแบบศักดินาจึงได้เริ่มฟักตัวขึ้นในปลายระบบทาส และเมื่ออิสรชนได้ครอบครองผืนดินมานาน จนผืนดินนั้นขาดจากกรรมสิทธิของนายทาส กลายเป็นกรรมสิทธิของอิสรชนเอง (โดยเหตุใดเหตุหนึ่ง) ระบบการผลิตเอกระของชาวนาก็เกิดขึ้น