หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/57

หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
 ๘๔  โฉมหน้าศักดินาไทย


ศาลสูงสุด (ฎีกา) ส่วนสามนตราชก็ต้องรับใช้กษัตริย์ทั้งกิจการภายในและภายนอก รวมทั้งการออกศึกสงคราม บางคราวก็ต้องเสียเงินทองช่วยกิจการพิเศษอื่นๆ เช่น

๑. ถ้ากษัตริย์ถูกจับยามสงคราม พวกสามนตราชก็ต้องรวบรวมเงินไปไถ่ตัวกษัตริย์คืนมา

๒. เมื่อลูกชายคนโตของกษัตริย์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นอัศวิน (Knight) พวกสามนตราชก็ต้องออกเงินช่วยเป็นของขวัญบรรณาการ

๓. เมื่อลูกสาวคนโตของกษัตริย์แต่งงานก็ต้องช่วยเงินเป็นบรรณาการของขวัญ

ในยุคศักดินานี้ มีลัทธิใหม่เกิดขึ้นลัทธิหนึ่ง นั่นคือ ลัทธิอัศวิน (Chivalry)๑๕ ลัทธินี้มุ่งอบรมคนให้เป็นนักรบผู้ซื่อสัตย์และสามารถของกษัตริย์ อัศวิน (Knight) ทุกคนจะต้องฝึกฝนมาแต่ยังเยาว์เพื่อให้กล้าหาญ, อดทน, ซื่อสัตย์ มีระเบียบและพร้อมที่จะตายแทน "เจ้าชีวิต" ลัทธิอัศวินนี้ ถ้าในประเทศญี่ปุ่นก็เรียกว่า "ลัทธิบูชิโด" อัศวินของญี่ปุ่นเรียกว่า "ซามูไร"๑๖ ในเมืองไทยก็มี "ลัทธิขุนศึก" หรือ "ทหารเสือ" ปัญหานี้จะกล่าวต่อไปในตอนที่ว่าด้วยศักดินาของไทย

คราวนี้ก็มาถึงชีวิตของพวกทาสกสิกร หรือเลกและไพร่ของศักดินาในยุโรป พวกนี้ได้รับสิทธิเสรีมากขึ้นดังกล่าวแล้วตั้งแต่ต้น แต่อย่างไรก็ดี ต่อๆ มาพวกนี้ ก็ถูกขูดรีดอย่างหนักหน่วงขึ้นทุกขณะ จะขอยกตัวอย่างพวกทาสกสิกรในฝรั่งเศส พวกนี้โดยปรกติต้องเป็นทาสทางการเงินของชนชั้นศักดินา นั่นคือเป็นหนี้เป็นสินรุงรัง ต้นทบดอก ดอกทบต้น ยุ่งเหยิงจนปลดหนึ้ไม่หลุด นอกจากนี้ ยังต้องเสียภาษีโดยตรง (Taille) ภาษีทางอ้อม (เช่น Gabelle - ภาษีเกลือ) ทั้งสองอย่างนี้เสียให้แก่รัฐ นอกจากเสียให้แก่รัฐแล้วยังต้อง