หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/67

หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
 ๙๔  โฉมหน้าศักดินาไทย


อย่างในภาษาไทยปัจจุบันไม่ ในกฏหมายลักษณะลักพาสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. ๑๘๙๙) ก็เรียกพวกนี้ว่า "ไพร่ฟ้าข้าหลวง" บ้าง หรือ "ไพร่ฟ้าข้าคนหลวง" บ้าง๒๔ อันหมายถึงพวกไพร่ พวกเลกที่สักข้อมือลงสังกัดเป็นคนของหลวง ซึ่งปรกติก็อยู่ในความบังคับของพวกเจ้าขุนมูลนาย

การตีความคําว่า "ไพร่ฟ้า" ในที่นี้เป็นข้อพิสูจน์ทางภาษาที่จะแสดงถึงระบบศักดินาของสุโขทัย ยังไม่เกี่ยวกับร่องรอยของทาสที่พวกนักปราชญ์ทางประวัติศาสตร์ของระบบศักดินาปรารถนา ร่องรอยของการมีทาสอยู่ที่คําว่า "ข้าไท"

พ่อขุนรามคําแหงเล่าอวดไว้ว่า พ่อมันตายก็ต้องยก "ไพร่ฟ้าข้าไท" ให้ลูกมันไป ข้าไท นี้ คืออะไร? "ไพร่ฟ้า" ก็คือ "ไพร่ของฟ้า" และแน่นอน "ข้าไท" ก็คือ "ข้าของไท" นั่นก็คือ "ทาส" นั่นเอง! "ข้าไท" ก็คือ "ทาสของเสรีชน"

การพิสูจน์ว่า ข้าก็คือ ทาสโดยใช้เหตุผลเพียงเท่านี้ บางทีจะยังไม่จุใจพวกนักพงศาวดารศักดินา จึงขอเสนอด้วยหลักฐานอีกอันหนึ่ง นั่นก็คือศิลาจารึกกฏหมายลักษณะโจรสมัยสุโขทัย ซึ่งเข้าใจว่าได้จารึกลงในปี พ.ศ. ๑๙๑๖ ในกฏหมายนั้น มีตอนหนึ่งว่าด้วยการยักยอก "ข้า" ซึ่งจะขอคัดมาให้ได้อ่านและพิจารณากันดังนี้

"ครั้นรู้ว่า ข้า ท่านไปสู่ตนวันนั้นจวนค่ำ และบ่ทันส่งคืนข้า ท่าน...บ่เร่งเอาไปเวน (=คืน) แก่จ่าข้า ในรุ่งนั้นจ่าข้าสุภาบดีท่านหากรู้ (จงติดตาม) ไปหา (ข้า) ให้แก่เจ้าข้า หากละเมิดและไว้ ข้า ท่านพ้นสามวัน... ท่านจักให้ปรับไหมวันละหมื่นพัน..."๒๕

ตามที่ปรากฏในกฏหมายนี้ "ข้า" ก็คือ "ทาส" อย่างไม่ต้องสงสัย จ่าข้า ก็คือผู้มีหน้าที่เกี่ยวแก่การควบคุมดูแลทาส และ