หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/69

หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
 ๙๖  โฉมหน้าศักดินาไทย


สรรพนามของไทยเรามีคําคู่กันอยู่สองคําคือ ข้า (กู) และ เจ้า (มึง) ผู้พูดเรียกตัวเองว่าข้า ก็เพราะเป็นการพูดเพื่อถ่อมตนลงว่าตนเองเป็น "ทาส" เป็น "ขี้ข้า" ผู้ต่ำต้อย และขณะเดียวกันก็ยกย่องผู้ที่เราพูดด้วยว่า "เจ้า" อันหมายถึงผู้เป็นนายเป็นเจ้าของพวกทาส จะพูดกันอย่างมีภราดรภาพว่ากูว่ามึงก็เกรงใจกันเต็มที ไม่รู้ว่าคนที่พูดด้วยนั้นเป็นใครแน่ ถ้าได้รู้แน่ว่าเป็นชนชั้นทาสด้วยกัน เขาก็เป็นซัดกันด้วยคํากูคํามึงอย่างไม่มีปัญหา ส่วนคําตอบรับว่าเจ้าข้า, พระเจ้าข้า (ซึ่งเลื่อนมาเป็นค่ะ, เจ้าค่ะ, พะยะค่ะ) ก็แปลได้ว่า นายทาสอีกนั่นเอง เช่นพูดว่า "ไม่กินเจ้าข้า" ก็เท่ากับ "ผมไม่กินดอกท่านนายทาส" (เทียบ I don't eat, my lord.) คําว่าเจ้าข้านี้ ได้ใช้ในกฏหมายลักษณะลักพา (พ.ศ. ๑๘๙๙) ด้วยความหมายตรงกับคําว่าเจ้าทาส (เจ้าของทาส)

ถึงในภาษาของประชาชนลาวก็เช่นกัน ลาวเรียกทาสว่า ข้อย เช่น "ข้อยพาของเจ้ามันลักหนี"๒๗ ข้อยในที่นี้ ก็คือทาส และเจ้าในที่นี้ ก็คือนายทาส เวลาพูดประชาชนลาวก็นิยมเรียกตัวเองว่าข้อย เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยว่าเจ้า ถ้าหากจะให้อ้างภาษาเขมรด้วย พวก เขมร เรียกตัวว่า ขญม ซึ่งก็แปลว่าทาส ที่ว่า ขญม ของเขมรแปลว่าทาสนี้ มิได้ยกเมฆเอาลอยๆ พวกเขมรปัจจุบันยังใช้คํานี้ เรียกพวกทาสอยู่ แม้ในศิลาจารึกสมัยสังคมทาสของเขมรเมื่อพันปี ก่อนหรือกว่านั้นก็เรียกพวกทาสด้วยคํานี้ทั้งนั้น

ร่องรอยของระบบสังคมที่กล่าวมานี้ เป็นร่องรอยที่เหลืออยู่ในภาษา แน่นอน มันเป็นระเบียบวิธีพูดที่ตกทอดมาตั้งแต่ยุคทาสอย่างไม่ต้องสงสัย ถ้าไทยไม่ผ่านระบบทาส สรรพนามเช่นนี้ก็คงไม่เกิดขึ้น

เท่าที่พยายามพิสูจน์มานี้ อย่างน้อยก็คงจะพอลบล้างคําเอ่ย