หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/73

หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
 ๑๐๐  โฉมหน้าศักดินาไทย

การวิเคราะห์ความคลี่คลายแห่งระบบผลิตของสังคมไทยที่เรากําลังพยายามค้นคว้าสันนิษฐานกันอยู่นี้ บางทีอาจจะช่วยให้กระจ่างขึ้น ถ้าเราจะมองออกไปยังสังคมของชนเชื้ อชาติไทยในดินแดนอื่นๆ สังคมของชนชาติไทยที่จะพิจารณาเป็นลําดับแรกก็คือ สังคมของชนชาติไทยในตังเกี๋ย สมัยก่อนที่จะมีการแบ่งปันประเทศเวียดนามออกเป็นสองภาค คือเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้

ในสังคมของพวกไทยที่อาศัยอยู่ตามภูเขาในตังเกี๋ย ความสัมพันธ์ในการผลิตของเขามีดังนี้ คือ "ผู้เป็นกวานเจ้า๓๐ เป็นเจ้าของที่ดินทั่วอาณาเขตที่ตนมีอํานาจปกครอง ชาวนาจึงไม่เป็นเจ้าของที่ที่ตนทํา ไม่มีสิทธิ์ที่จะโอนให้แก่ใคร และเมื่ออพยพออกจากหมู่บ้านไปอยู่ที่อื่นก็ต้องเวนคืนที่แก่กวานบ้าน๓๑ เพื่อให้กวานบ้านแบ่งปันไปให้กับชาวบ้านที่เหลืออยู่"๓๒ นอกจากนั้นก็มีพวกชนชาติไทยที่เรียกว่า "เมือง" ซึ่งอยู่ในบริเวณภูเขาทางตะวันตกเฉียงใต้ของตังเกี๋ย ความสัมพันธ์ในการผลิตของเขาก็คือเป็น "กวนลาง" หรือ "โถตี" คือหัวหน้า "ถือตนเป็นเจ้าของที่ดินทุกแปลงในอาณาเขต ทั้งแปลงที่มีผู้ทําเป็นนาเป็นสวนและแปลงซึ่งยังเป็นป่ารกร้างว่างเปล่าด้วย หากให้ราษฎรเข้าครอบครองอยู่ก็โดยทรงเมตตาให้อยู่"๓๓ การถือสิทธิ์เป็นเจ้าของที่ดินนี้ ผู้เป็นกวานเจ้ามิได้ถือกรรมสิทธิ์ ไว้เพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากที่ดินดังเช่นเจ้า ที่ดินของระบบศักดินา หากเป็นเพียงประมุขผู้เป็นหลัก และเป็นผู้แบ่งปันที่ดินให้แก่ประชาชนมากบ้างน้อยบ้างตามตามตําแหน่งและอํานาจตามที่ได้แต่งตั้งกันไว้ ในชุมนุมเชื้อชาติไทยที่อาศัยอยู่ตามภูเขาประเทศตังเกี๋ย ผู้เป็นกวานจะเลือกเอาที่ดินแปลงใหญ่ๆ ไว้เพื่อตนเองเสียก่อนแล้วประทานแปลงที่มีขนาดรองลงมา (แต่ยังมีขนาดใหญ่) ให้แก่ผู้เป็น "เจ้าของ" หรือ "เทอหลาย" ซึ่งเป็นผู้ช่วย