หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/80

หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
จิตร ภูมิศักดิ์  ๑๐๗ 

ตั้งตัวติด ก็ยกพวกมาชิงทาสไปจากเขมรบ้าง เป็นสงครามชิงทาสระหว่างรัฐทาส พวกทาสเชลยไทยทั้งปวงก็ถูกต้อนไปเป็นทาสสําหรับงานโยธา สร้างเทวสถานศิลาในเมืองจามอีกทอดหนึ่ง ตรงนี้ ไม่ใช่นึกเดาเอาเอง มีหลักฐานอ้างอิงได้ กล่าวคือมีศิลาจารึกจามเล่าถึงการอุทิศถวายทาสให้เป็นผู้ทํางานรับใช้ในวัด (เทวสถานศิลาที่สร้างขึ้น) ของจาม ในนั้นมีระบุด้วยว่ามีทาส "สยาม" (เขาใช้คํานี้จริงๆ)๔๐ พวกทาส "สยาม" ที่จามได้ไปนี้ นอกจากจะได้ไปโดยการทําสงครามชิงทาสแล้ว ยังได้ไปโดยจับเป็นเชลยศึก ที่ว่าดังนี้ก็เพราะพวก "สยาม" ต้องถูกเกณฑ์ให้จัดกองทัพไปช่วยเขมรรบ ที่ว่านี้ก็มีหลักฐานอีกนั่นแหละ ใครที่ไปเที่ยวนครวัต จะได้เห็นภาพสลักนูน (Basrelief) บนผนังของระเบียงนครวัต (เหมือนระเบียงวัดพระแก้วของไทย) ตอนหนึ่งเป็นภาพการยกทัพของพระเจ้าสูรยวรมันที่ ๒ (พ.ศ. ๑๖๕๗-๑๖๘๘) ผู้สร้างนครวัต ในขบวนทัพนั้นกองหน้าสุดอันเป็นพวกทหารเลวตายก่อนก็คือพวก "สยาม" มีหนังสือเขียนบรรยายภาพเอาไว้อย่างชัดเจนตั้งสองแห่ง นอกจากนั้นถัดมาเป็นอันดับที่สองคือตายที่สองก็คือพวกไพร่พลเมือง "ละโว้" มีคําจารึกบรรยายภาพไว้ด้วยเหมือนกัน๔๑

สภาพของชีวิตอันเกิดมีการต่อสู้เพื่อช่วงชิงแหล่งทําเลทํามาหากินที่ไทยต้องทํากับชนพื้นเมืองเดิมก็ดีหรือการต่อสู้ช่วงชิงทาสระหว่างไทยกับรัฐทาสของเขมรก็ดี เหล่านี้ เป็นเงื่อนไขที่จะทําให้ระบบผลิตของสังคมไทยพัฒนาไปสู่ระบบทาสได้อย่างสมบูรณ์ การรบชนะเจ้าของดินถิ่นเดิมหรือรบชนะพวกชาติกุลอื่นทําให้ไม่จําเป็นต้องผลิตรวมหมู่แบบช่วยกันทําเหมือนสมัยชมรมกสิกรรมของยุคชุมชนบุพกาลอีกต่อไป ทั้งนี้เพราะแต่ละครัวหรือสกุล ต่างมีทาสเชลยเป็นพลังแห่งการผลิต การผลิตโดยเอกเทศแบ่งแยกกัน