หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/91

หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
 ๑๑๘  โฉมหน้าศักดินาไทย

ยังรวบอํานาจเหนือที่ดินของรัฐและเมืองเหล่านี้ ไม่ได้เด็ดขาดแท้จริง ถ้าหากผลประโยชน์เหนือที่ดินเกิดขัดกันขึ้นเมื่อใด พวกรัฐเล็กรัฐและโตเหล่านี้ ก็เป็นแข็งข้อเอาเสมอ และตามที่ปรากฏรัฐที่แข็งข้อได้สําเร็จอย่างลอยชายก็คือ รัฐสุพรรณภูมิของพระเจ้าอู่ทองซึ่งต่อมาได้ย้ายมาตั้งมั่นอยู่ ณ กรุงศรีอยุธยา

ระบบผลิตศักดินาของสังคมไทยในสมัยแรกเริ่มคือก่อนต้นยุคสุโขทัยขึ้นไปเล็กน้อย หรือตอนแรกตั้งอาณาจักรสุโขทัยนั้นจะมีลักษณะการแบ่งปันที่ดินกันอย่างใดไม่ทราบชัดเพราะไม่มีหลักฐาน เรารู้ได้แต่เพียงว่า ในสมัยสุโขทัยนั้นได้มีการแบ่งปันที่นากันแล้วอย่างมีระเบียบเรียบร้อยตามศักดิ์ของแต่ละคน คือ พวกเจ้าที่ดินเป็นลูกหลานพ่อขุนก็ได้มาก ที่เป็นเพียงลูกขุนข้าราชการก็ได้น้อย แต่จะมีอัตรากําหนดอย่างไรหาทราบไม่ ในกฏหมายลักษณะโจรของกรุงสุโขทัย ซึ่งตราขึ้นในราวปี ๑๙๑๖ นั้น ได้มีที่กล่าวถึงการปรับไหมว่าปรับกันตาม "ศักดิ์"๕๖ นั่นก็คือปรับกันตามศักดินาของแต่ละคนอย่างเดียวกับการปรับไหมของสมัยอยุธยาที่มีวิธีคํานวณปรากฏอยู่ในกฏหมาย "กรมศักดิ์" (หรือพระอัยการพรมศักดิ์)

แต่อย่างไรก็ดี แม้จะมีการแบ่งปันที่ดินกันอย่างมีระเบียบ ระบบศักดินาของสุโขทัยก็ยังคงอยู่ในระยะแห่งการพัฒนาขั้นต้น ที่กล้ากล่าวดังนี้ ก็เพราะในตอนต้นยุคสุโขทัยทีเดียวนั้น พวกราชะยังคงมีลักษณะเป็น "พ่อขุน" อยู่ ความสัมพันธ์ในทางการเมืองมีดังนี้ คือ ข้าราชการเป็น "ลูกขุน" เจ้าเมืองใหญ่น้อยทั้งปวงเป็นขุน เช่น ขุนสามชน๕๗ ราชะใหญ่คือ กษัตริย์ เป็นพ่อขุน แม้ว่าพวกพ่อขุนจะพยายามตั้งตนเป็นกษัตริย์ใหญ่ ชาวบ้านชาวเมืองก็ยังเรียกว่า "พ่อขุน" ด้วยความเคยชินอยู่ ยังมิได้เปลี่ยนธรรมเนียมเรียกโดยฉับพลัน แต่ถึงกระนั้นการพัฒนาของระบบศักดินา