หน้า:โฉมหน้าศักดินาไทย (9th ed).pdf/95

หน้านี้ยังไม่ได้พิสูจน์อักษร
 ๑๒๒  โฉมหน้าศักดินาไทย

การอาศัยที่ดินของท่าน เรื่องของมันก็ลงเป็นรอยเดียวกับศักดินาใหญ่ของประเทศลาวในสมัยโบราณ ซึ่งบาทหลวงบูรเลต์กล่าวถึงไว้ว่าในเมืองหัวพันทั้งหกนั้น "ชาวบ้านไม่รู้จักกรรมสิทธิที่ดิน อาณาเขตเป็นของเจ้าชีวิต หรือพระเจ้าแผ่นดินหลวงพระบาง ประชาชนเป็นแต่ผู้เก็บกินหรือผู้ทํา ก่อนที่ฝรั่งเศสเข้าปกครองประเทศนี้ ภาษีอากรที่ดินซึ่งชาวบ้านชําระทุกปี จึงดูเหมือนว่าเสียไปเพื่อเป็นค่าอาศัยที่เจ้าของชีวิตอยู่"๖๑

เมื่อที่ดินทั้งหมดตกเป็นของกษัตริย์แต่ผู้เดียวเช่นนี้ ประชาชนส่วนข้างมากจะตกอยู่ในฐานะเช่นไร?

ฐานะของประชาชนในระบบศักดินายุคต้นของอยุธยาก็คือเป็นผู้ทํางานบนผืนดินส่งส่วยสาอากรแก่เจ้าที่ดิน การที่จะทํางานบนผืนที่ดินนั้นโดยที่ตนมิได้มีกรรมสิทธิเป็นเหตุให้การทํางานอืดอาดไม่ได้ผลเท่าที่ควร เพราะไม่มีแก่ใจ กษัตริย์ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน และผู้เสวยผลประโยชน์จึงต้องออกกฏหมายบังคับไว้ว่าที่ดินในรัฐทุกแห่ง "อย่าละไว้ให้เป็นทําเลเปล่า แลให้นายบ้านนายอําเภอร้อยแขวงและนายอากรจัดคนเข้าไปอยู่ในที่นั้น" และเพื่อให้เป็นกําลังใจแก่ประชาชนที่จะทําการผลิต กฏหมายฉบับเดียวกันจึงบ่งไว้อีกว่า "อนึ่ง ที่นอกเมืองชํารุดอยู่นานก็ดี แลมันผู้หนึ่งล้อมเอาไว้เป็นไร่เป็นสวนมัน มันได้ปลูกต้นไม้สรรพอัญมณี (= ของกินได้) ในที่นั้นไว้ ให้ลดอากรไว้แก่มันปี หนึ่ง พ้นกว่านั้นเป็นอากรของหลวงแล" นั่นก็คือลดภาษีอากรให้เป็นกําลังใจแก่ผู้ก่นสร้างที่ดิน

ยิ่งกว่านั้น กฏหมายยังให้กําลังใจแก่ผู้ทํางานไว้อีกข้อหนึ่งด้วยว่า "หัวป่าแลที่มีเจ้าของสืบสร้าง แลผู้นั้นตาย ได้แก่ลูกหลาน" นี้ เป็นลักษณะเดียวกันกับที่มีคุยอวดไว้ในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคําแหงว่าป่าหมากป่าพลูทั้งมวล "ใครสร้างได้ไว้แก่มัน" และ