หน้า:Constitutional imperialism in Japan (IA constitutionalim00clemrich).pdf/114

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
104
[ปี 6
ระบอบจักรพรรดิภายใต้รัฐธรรมนูญในญี่ปุ่น

มาตรา 13 มีเนื้อความว่า

"เมื่อเสด็จขึ้นทรงราชย์แล้ว ให้เถลิงศักราชใหม่ และให้นามของศักราชนั้นคงอยู่ไปโดยไม่เปลี่ยนแปลงตลอดรัชกาล"

เพราะเหตุนั้น เมื่อจักรพรรดิพระองค์ปัจจุบันเสด็จขึ้นทรงราชย์ในปี 1912 ศักราชเมจิจึงต้องเปิดทางให้แก่ศักราชไทโช หรือศักราชมหายุติธรรม

จักรพรรดิ พระราชโอรสพระองค์หัวปีของจักรพรรดิ (มกุฏราชกุมาร) และพระราชนัดดาของจักรพรรดิ บรรลุนิติภาวะเมื่อพระชนม์สิบแปดพรรษา แต่สมาชิกคนอื่น ๆ ทั้งหมดของราชตระกูลไม่บรรลุนิติภาวะจนกว่าจะอายุยี่สิบปี

จักรพรรดิ พระปัยยิกา พระอัยยิกา และพระมเหสี จะได้รับการเรียกขานว่า "แมเจิสตี" (ฮิส เฮอร์ หรือยัวร์)[1] ส่วนสมาชิกคนอื่น ๆ ทั้งหมดของราชตระกูลจะได้รับการเรียกขานว่า "ไฮนิส" (ฮิส เฮอร์ หรือยัวร์)[2]

  1. คำว่า "majesty" ในภาษาอังกฤษ จะเปลี่ยนคำนำหน้าไปตามเพศหรือบุรุษ (เช่น "His Majesty" เป็นสรรพนามบุรุษที่ 3 ใช้เรียกขานเพศชาย ส่วน "Your Majesty" เป็นสรรพนามบุรุษที่ 2 ใช้เรียกขานเพศใดก็ได้) ส่วนในภาษาญี่ปุ่นใช้ว่า "陛下" (เฮกะ) (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  2. คำว่า "highness" ในภาษาอังกฤษ จะเปลี่ยนคำนำหน้าไปตามเพศหรือบุรุษ (เช่น "His Highness" เป็นสรรพนามบุรุษที่ 3 ใช้เรียกขานเพศชาย ส่วน "Your Highness" เป็นสรรพนามบุรุษที่ 2 ใช้เรียกขานเพศใดก็ได้) ส่วนในภาษาญี่ปุ่นใช้ว่า "殿下" (เด็งกะ) (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
(424)