หน้า:Constitutional imperialism in Japan (IA constitutionalim00clemrich).pdf/89

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
เล่ม 3]
79
ภาคผนวก

2. เอกสารแสดงบัญชีรายได้และรายจ่ายตามจริงของปีการคลังซึ่งสิ้นลง ณ วันที่ 31 เดือน 3 ของปีปัจจุบัน

มาตรา 7 เงินสำรองที่จะบัญญัติไว้ในงบประมาณนั้น ให้แบ่งออกเป็นสองประเภทดังนี้ คือ เงินสำรองประเภทที่ 1 และเงินสำรองประเภทที่ 2

เงินสำรองประเภทที่ 1 ให้ใช้เติมเต็มส่วนที่ขาดพร่องไปอันไม่อาจเลี่ยงได้ในงบประมาณ เงินสำรองประเภทที่ 2 ให้ใช้รองรับค่าใช้จ่ายจำเป็นซึ่งมิได้บัญญัติไว้ในงบประมาณ

มาตรา 8 บัญชียอดเงินที่ออกให้จากเงินสำรองนั้น เมื่อพ้นปีการคลังไปแล้ว ให้ยื่นต่อสภานิติบัญญัติแห่งจักรวรรดิ และขอรับความเห็นชอบจากสภา

มาตรา 9 จำนวนขั้นสูงของร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยท้องพระคลังซึ่งจะออกในช่วงปีการคลังแต่ละปีนั้น ให้กำหนดโดยความยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งจักรวรรดิ

หมวด 3 รายรับ

มาตรา 10 การเพิ่มภาษีและรายได้อย่างอื่น ให้กระทำตามบทบัญญัติแห่งพระราชกำหนดกฎหมาย

การเรียกเก็บภาษีและรายได้อย่างอื่น จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยพนักงานที่มีคุณสมบัติเพื่อการนั้นตามพระราชกำหนดกฎหมาย

หมวด 4 รายจ่าย

มาตรา 11 จำนวนที่จัดสรรไว้เป็นค่าใช้จ่ายรัฐบาลในปีการคลังแต่ละปีนั้น ให้ออกโดยใช้รายได้ของปีการคลังปีเดียวกันนั้น

มาตรา 12 มิให้รัฐมนตรีขอจัดสรรเงินเพื่อวัตถุประสงค์ใด ๆ นอกจากที่กำหนดไว้ในงบประมาณ และไม่อนุญาตให้รัฐมนตรีนำจำนวนที่จัดสรรไว้ในแต่ละวรรคนั้นมาสับเปลี่ยนกันและกัน

ให้รัฐมนตรีส่งรายรับทั้งปวงในความควบคุมของตนให้แก่ท้องพระคลัง และมิให้นำรายรับเหล่านั้นไปใช้โดยตรง

มาตรา 13 คำสั่งจ่ายเงินนั้น ให้รัฐมนตรีนำมาเบิกที่ท้องพระคลัง เพื่อออกเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการปกครองแต่ละอย่างของตน

อย่างไรก็ดี อำนาจในการออกคำสั่งให้จ่ายเงินนั้น จะมอบให้แก่ผู้ปฏิบัติงานคนอื่นตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้เพื่อการนั้นเป็นพิเศษก็ได้

มาตรา 14 มิให้ท้องพระคลังจ่ายเงินตามคำสั่งที่ขัดกับบทบัญญัติแห่งพระราชกำหนดกฎหมาย

มาตรา 15 มิให้รัฐมนตรีออกคำสั่ง

(399)