หน้า:Draft Constitution of King Prajadhipok (1926).pdf/3

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๖๙

ขึ้นสู่ราชสมบัติหรือไม่ หรือเฉพาะพระโอรสประสูติแต่พระชายาเอกที่สามารถสืบสันตติวงศ์ได้ใช่หรือไม่ กรณีดังนี้ได้เกิดขึ้นจริงแล้ว ซึ่งปรากฏว่า ในพระทัยของพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศนั้น พระโอรสทุกพระองค์สามารถสืบสันตติวงศ์ได้ ในกรณีข้าพเจ้า พระโอรสของกรมขุนเพ็ชรบูรณ์ฯ[1] ถูกข้ามไปตามพระราชประสงค์ที่พระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศทรงแสดงเอาไว้[2] ทีนี้ หลายคนมองว่า แนวคิดที่ว่า พระโอรสทุกพระองค์สามารถสืบสันตติวงศ์ได้นั้น ควรค้าน เนื่องเพราะข้อเท็จจริงที่ว่า เจ้าชายบางพระองค์ทรงมีอนุชายาที่ชื่อเสียงเสื่อมเสียอย่างถึงที่สุด ซึ่งไม่เหมาะจะเป็นพระราชมารดาพระเจ้าแผ่นดินเอาเสียเลย เขายังว่า ชาวสยามดำเนินตามธรรมเนียมอินเดีย และประสงค์ให้พระเจ้าแผ่นดินของตนประสูติแต่เจ้าหญิงในราชตระกูล เป็นเจ้าชายซึ่งรับรู้กันว่า "ประสูติมาแต่พระครรภ์อันบริสุทธิ์" ก็คือ เป็นเจ้าฟ้า

 คำถามเกี่ยวกับหลักการที่เกี่ยวข้องซึ่งข้าพเจ้าใคร่จะได้ความเห็นจากท่านนั้น มีว่า
คำถามที่หนึ่ง  พระเจ้าแผ่นดินควรทรงมีสิทธิเลือกเจ้าชายพระองค์ใด ๆ เป็นรัชทายาทหรือไม่? ถ้าพระเจ้าแผ่นดินทรงมีสิทธิเช่นนี้ ควรหรือไม่ที่สิทธินี้จะขยายไปสู่สภาพระบรมวงศ์และเสนาบดีแห่งรัฐในกรณีที่พระเจ้าแผ่นดินสิ้นพระชนม์โดยมิได้ทรงเลือกรัชทายาทไว้? ในขณะนี้ พระเจ้าแผ่นดินแต่พระองค์เดียวที่มีสิทธิกำหนดรัชทายาท แต่คงจะสมเหตุสมผลมากกว่า ถ้าให้สภาสักสภาใช้สิทธิดังกล่าวเมื่อพระเจ้าแผ่นดินมิได้ทรงกระทำเช่นนั้น ข้อนี้คงจะสอดรับกับแนวคิดเรื่องสมมติราชมากกว่า
คำถามที่สอง  ควรหรือไม่ที่จะยอมรับหลักการเลือกทุกประการ หรือควรไหมที่ให้จะสืบสันตติวงศ์ด้วยชาติกำเนิดแต่ประการเดียว และควรไหมที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมบางอย่างในกฎหมายปัจจุบัน?
ข) พระราชอำนาจของพระเจ้าแผ่นดิน  ดังที่ท่านทราบดี พระเจ้าแผ่นดินมีพระราชอำนาจเบ็ดเสร็จในทุกสิ่ง หลักการนี้ดีอย่างยิ่งและเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับประเทศตราบที่เรามีพระเจ้าแผ่นดินที่ดี ถ้าพระเจ้าแผ่นดินทรงเป็นสมมติราชอย่างแท้จริงแล้ว ก็น่าที่ผู้นั้นจะเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ดีทีเดียว แต่แนวคิดเรื่องการเลือกตั้งนี้ออกจะเป็นทฤษฎีแท้ ๆ และในความเป็นจริงแล้วพระเจ้าแผ่นดินสยามก็มาจากการสืบตระกูลล้วน ๆ ส่วนความเป็นไปได้ที่จะมีการเลือกนั้นก็จำกัดยิ่งนัก เมื่อกรณีเป็นเช่นนี้ จึงไม่เป็นที่แน่นอนเสมอไปว่า เราจะได้พระเจ้าแผ่นดินที่ดีทุกครั้ง ดังนั้น อำนาจเบ็ดเสร็จอาจกลายเป็นภัยโดยแท้ต่อบ้านเมือง นอกจากนี้ การณ์ก็แปรเปลี่ยนไปมากมาย ในยุคก่อน แทบไม่มีใครสงสัยในพระจริยวัตรของพระเจ้าแผ่นดิน เพราะทำเช่นนั้นก็คงไม่ปลอดภัย ทั้งพระเจ้าแผ่นดินก็ทรงเป็นที่เคารพอย่างจริงแท้ และพระราชดำรัสก็เป็นกฎหมายอย่างแท้จริง แต่การณ์เริ่มเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการจัดระเบียบสิ่งต่าง ๆ เสียใหม่ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้าแผ่นดินยังทรงเป็นที่ยำเกรงและเคารพอย่างสูงยิ่ง แม้เป็นเช่นนั้นไปจนสิ้น
  1. สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย
  2. รัชกาลที่ 6 มีพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2486 (อ้างถึงใน สุพจน์ ด่านตระกูล, ม.ป.ป.) ว่า "ให้ข้ามหม่อมเจ้าวรานนท์ธวัชในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนเพชรบูรณ์อินทราไชยนั้นเสียเถิด เพราะหม่อมเจ้าวรานนท์ธวัชมีแม่ที่ไม่มีชาติสกุล เกรงว่าจะไม่เป็นที่เคารพแห่งพระบรมวงศานุวงศ์"