หน้า:Draft Constitution of King Prajadhipok (1926).pdf/4

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
๑๗๐

รัชกาล ก็ยังมีคนหนุ่มสาวคณะหนึ่งเริ่มวิจารณ์พระเจ้าแผ่นดินในหลาย ๆ ทาง แต่มิได้ออกหน้าออกตา ครั้นในรัชกาลที่เพิ่งสิ้นลงนี้ การณ์ย่ำแย่ลงอย่างยิ่งด้วยสาเหตุหลายประการ ซึ่งข้าพเจ้าไม่จำต้องเล่าให้ท่านฟังเพราะท่านทราบดีพออยู่แล้ว พระเจ้าแผ่นดินกลายเป็นบุคคลที่ถูกชักจูงได้โดยใครก็ตามที่สามารถเป็นที่สนอกสนใจของพระราชวัลลภ ข้าราชการทุกคนต้องสงสัยว่ายักยอกหรือเห็นแก่ญาติไม่มากก็น้อย โชคยังดีที่เจ้าชายทั้งหลายยังทรงได้รับความเคารพในฐานะที่ทรงอยู่ในหมู่ผู้ซื่อสัตย์ทั้งปวง ส่วนเรื่องที่ชวนโทมนัสเหลือเกิน ก็คือ ราชสำนักนั้นถูกชิงชังอย่างสุดขั้วหัวใจ และช่วงหลัง ๆ ก็แทบจะถูกเย้ยหยันถากถาง[1] การเกิดขึ้นของสื่อเสรียิ่งทำให้เรื่องบานปลาย สถานะของพระเจ้าแผ่นดินกลายเป็นสิ่งที่มีความลำบากอย่างสาหัส ขบวนการทางความคิดในประเทศนี้เป็นเค้าลางแน่นอนว่า ระบอบผู้ครองอำนาจเด็ดขาดนั้นนับวันได้ ถ้า[2] ราชวงศ์นี้จะดำรงอยู่ต่อ ก็ต้องทำให้สถานะของพระเจ้าแผ่นดินมั่นคงยิ่งขึ้น และต้องหาหลักประกันสักอย่างมาป้องกันมิให้มีพระเจ้าแผ่นดินผู้โฉดเขลา

คำถามที่สาม  แล้วการปกครองสยามควรเป็นไปในรูปแบบใด? วันหนึ่งประเทศนี้ก็ต้องมีระบบรัฐสภาใช่ไหม และการปกครองแบบมีรัฐสภาอย่างแองโกล-แซ็กซันนั้นเหมาะสมแก่ชาวตะวันออกหรือไม่?
คำถามที่สี่  ประเทศนี้พร้อมหรือยังที่จะมีการปกครองแบบมีผู้แทนสักแบบ?
 สำหรับคำถามที่สามนั้น โดยส่วนตัวแล้วข้าพเจ้ายังกังขาอยู่ ส่วนคำถามที่สี่นั้น ความเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้า คือ "ไม่" แบบเน้น ๆ
 แล้วควรทำอะไรไปพลาง? ความพยายามขั้นแรกของข้าพเจ้าในอันที่จะหาหลักประกันสักอย่างให้องค์พระเจ้าแผ่นดินนั้น คือ การจัดตั้งอภิมนตรีสภา
ค) อภิมนตรีสภา[3]  การก่อกำเนิดอภิมนตรีสภานั้นควรค่าแก่การเล่าให้ฟังพร้อมรายละเอียดบางเรื่อง
 ข้าพเจ้าได้ถกแนวคิดเรื่องสภาเช่นว่านั้นในหมู่เพื่อนฝูงมาสักระยะก่อนที่จะเกิดแนวคิดใด ๆ ว่า ควรมีโอกาสได้จัดตั้งสภานั้นด้วยตนเองแล้ว ผู้สนับสนุนแนวคิดนี้อย่างหนักแน่น คือ กรมพระดำรงฯ[4] ข้าพเจ้าปรึกษาเรื่องแนวคิดนี้กับเจ้าฟ้าภาณุรังษีฯ[5] และเจ้าฟ้าบริพัตรฯ[6] เพียงหนึ่งวันก่อนพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศจะเสด็จสวรรคต เจ้าฟ้าพระองค์แรกไม่สนพระทัยในแนวคิดนั้นนัก เพราะทรงเห็นว่า จะเป็นการบั่นทอนพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดิน แต่เจ้าฟ้าพระองค์หลังสนพระทัยอย่างแรงกล้า ครั้นพระเจ้าอยู่หัวสวรรคต ก็มีการตัดสินใจว่า ควรจัดตั้งอภิสภาในทันที เรามีเวลาสองวันให้เตรียมประกาศ และเมื่อพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศสวรรคตได้สามวัน 
  1. ต้นฉบับว่า "rediculed" ซึ่งน่าจะพิมพ์ผิดจาก "ridiculed" (เย้ยหยัน ถากถาง ฯลฯ) ในที่นี้แปลเป็น "ridiculed"
  2. ต้นฉบับว่า "it if" ซึ่งคงเป็นการเขียนหรือพิมพ์ผิด ที่ถูกอาจเป็น (1) "as if" หรือ (2) "if" เฉย ๆ ในที่นี้แปลตาม (2)
  3. ชื่อเต็ม คือ "อภิรัฐมนตรีสภา" ภาษาอังกฤษใช้ว่า "Supreme Council of State" ดูเพิ่มเติมที่ สถานีย่อย:อภิรัฐมนตรีสภา
  4. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ
  5. สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
  6. สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต