หน้า:Great & wonderful revolution in Siam (1690).pdf/32

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
21
และการเนรเทศชาวฝรั่งเศส

และนับแต่ยามนั้นสืบมา ออกพระเพทราชาก็เริ่มยุติการประพฤติโหดร้ายต่อชาวฝรั่งเศสและคริสเตียนคนอื่น ๆ ที่อยู่ในอำนาจตน

ในเดือนกรกฎาคม พระเจ้าแผ่นดินสยามเกิดสวรรคต แต่พระอาการที่สวรรคตก็ดี วันอันแน่นอนก็ดี ยังไม่เป็นที่รับทราบ ในวันสิ้นเดือน ออกพระเพทราชาออกเดินทางจากละโว้มายังสยาม ที่ซึ่งเขาได้รับการราชาภิเษกผ่านพิธีอันยิ่งใหญ่และไร้ผู้ใดคัดค้าน วันถัดมาหลังราชาภิเษกแล้ว เขาสั่งปล่อยชาวฝรั่งเศสและอังกฤษทั้งปวงที่อยู่ ณ สยามและละโว้ให้เป็นอิสระ

วันที่ 3 สิงหาคม ข้ามาถึงสยามกับเจ้าหน้าที่[1] ฝรั่งเศสอีก 4 คน คือ เมอซีเยอเดอ แฟร็ตวีย์, เดอ ว็องดรีล, เด การ์ฌ, และเดอ แล็ส

วันที่ 9 ออกพระเพทราชา ซึ่งบัดนี้เป็นพระเจ้าแผ่นดินสยามแล้ว ส่งเราทั้ง 5 ไปบางกอก มิใช่ไปหาแม่ทัพของเราเองดังที่เราหวัง แต่ไปหาแม่ทัพของเขาที่บังคับบัญชาชาวมลายู ผู้ซึ่งขังเราไว้เป็นนักโทษเกือบเดือน แล้วบรรดาชาวฝรั่งเศสที่ถูกทิ้งไว้ ณ สยามก็ถูกส่งไปอยู่ในอารักขาของเยสุอิตและของหัวหน้าตัวแทนค้าต่าง[2] ในบริษัทพ่อค้าฝรั่งเศสให้คอยรับผิดชอบเขาเหล่านั้น

พระเจ้าแผ่นดิน เมื่อตัดสินพระทัยจะให้บรรลุการหย่าศึกให้จงได้ ในที่สุดจึงส่งเราไปหาเมอซีเยอเด ฟาร์ฌ ผู้ซึ่งจะไม่รับฟังเรื่องสนธิสัญญาใด ๆ โดยไม่ยอมให้เราได้ประโยชน์จากการได้รับการบรรจุ[3] อยู่ในนั้นด้วย โดยวิธีนี้เอง เราจึงได้รับอิสรภาพ

วันที่ 30 กันยายน มีการบรรลุและลงนามในการหย่าศึก 2 วันให้หลัง เมอซีเยอเด ฟาร์ฌ แม่ทัพของเรา 

ส่ง
  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :2
  2. ในภาษาเก่า "factor" หมายถึง ผู้ทำการแทนพ่อค้าคนหนึ่งอยู่ในดินแดนโพ้นทะเล หรือผู้ซื้อและขายสินค้าในฐานะที่เป็นทรัสตี (ผู้ได้รับมอบหมายให้ดูแลกิจการหรือทรัพย์สิน) ของผู้อื่น ดังที่ Kersey (1708, น. 260) นิยามว่า "an Agent for a Merchant beyond Sea" และ Bailey (1730, น. 305) นิยามว่า "one who is an agent for a merchant beyond ſea, one that buys and ſells goods as a truſtee for other perſons" คำว่า "ตัวแทนค้าต่าง" เป็นคำในกฎหมายไทย (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  3. ในภาษาเก่า "comprehend" แปลว่า (1) บรรจุไว้ ใส่ไว้ (2) เข้าใจ รับรู้ ดังที่ Kersey (1708, น. 185) นิยามว่า "to contain or include; to underſtand, perceive, or have the knowledge of" คำว่า "comprehend" ในที่นี้ไม่มีทางแปลตาม (2) ได้ เพราะ "comprehend" เป็นสกรรมกริยา (กริยาที่ต้องมีกรรมรองรับ) และกรรมตาม (2) คือ สิ่งที่จะเข้าใจหรือรับรู้ ซึ่งในกรณีนี้ก็คือ สนธิสัญญา แต่ในประโยคข้างต้น กรรม คือ เรา ดังนั้น จึงแปลตาม (1) ได้แต่ประการเดียว คือ แปลว่า ใส่เราไว้ในสนธิสัญญาด้วย ซึ่งหมายความว่า ให้สนธิสัญญามีเนื้อหาเกี่ยวกับเราด้วย และเนื้อหาในที่นี้ ก็คือ เนื้อหาที่กำหนดให้ปล่อยเราเป็นอิสระ ดังบ่งบอกไว้ในข้อความถัดมาที่ว่า "โดยวิธีนี้เอง เราจึงได้รับอิสรภาพ" (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)