หน้า:Great & wonderful revolution in Siam (1690).pdf/4

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
(1)


คำนำถึงผู้อ่าน
พื่อให้เข้าใจเรื่องเล่าต่อไปนี้ได้ดีขึ้น ข้าคิดว่า คงไม่ผิดที่จะแจ้งผู้อ่านว่า คณะทูตทางพิธีการชุดแรกซึ่งพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสทรงส่งมายังพระเจ้าแผ่นดินในพระโกศของสยามนั้นมีขึ้นในปี 1685 นำโดยเมอซีเยอเดอ โชมง[1] ผู้มาในฐานะเอกอัครราชทูตวิสามัญ ซึ่งในการนี้มีเรื่องเล่า 2 ฉบับได้รับการเผยแพร่แล้ว ฉบับหนึ่งว่าด้วยคณะทูต เอกอัครราชทูตเขียนเอง[2] อีกฉบับหนึ่งว่าด้วยการเดินทางของหลวงพ่อตาชาร์[3] หนึ่งในเยสุอิต 6 รูปที่ติดตามเมอซีเยอเดอ โชมง มาในการเดินทางครั้งนั้นตามรับสั่งของพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสโดยเฉพาะ[4] ทั้ง 2 ฉบับได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ มีภาพพิมพ์[5] ประกอบ และตีพิมพ์ขึ้นแล้วเมื่อราว 2 ปีก่อน

คณะทูตชุดที่ 2 นั้นดำเนินการในปี 1687 คราวที่เอกอัครราชทูตสยามซึ่งมายังฝรั่งเศสพร้อมเมอซีเยอเดอ โชมง เมื่อปีก่อนหน้านั้น กลับคืนสู่สยามอีกครั้ง ผู้ดำเนินการ คือ เมอซีเยอเดอ ลา ลูแบร์[6] และเซเบอแร[7] ซึ่งนำพาเยสุอิต 12 รูป ทุกรูปเป็นนักคณิตศาสตร์สำหรับสอนศาสนาคริสต์และคณิตศาสตร์ ณ นครหลวง 2 แห่ง คือ สยาม และละโว้[8] กับทั้งคณะเจ้าหน้าที่[9] และทหารจำนวนมากที่พระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสทรงส่งให้แก่พระเจ้าแผ่นดินสยาม มาพร้อมกับพวกตน เรื่องเล่าเกี่ยวกับการเดินทางครั้งที่ 2 นี้มีเผยแพร่แต่ในภาษาฝรั่งเศสเมื่อสัก 6 เดือนก่อน ผู้เผยแพร่ คือ หลวงพ่อตาชาร์ ผู้กลับคืนสู่สยามพร้อมกับเอกอัครราชทูตสยาม แล้วจึงกลับจากที่นั่นไปยังฝรั่งเศสพร้อมลายลักษณ์อักษรของคณะทูตวิสามัญในพระเจ้าแผ่นดินสยามถึงพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสและถึงพระสันตะปาปา หลวงพ่อลุถึงปารีสในเดือนพฤศจิกายน 1688 และได้เข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศส แล้วในเดือนมกราคม 1689 จึงมายังโรมและได้เข้า-

เฝ้า
ก 3
  1. อาแล็กซ็องดร์ อัศวินแห่งโชมง (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  2. ดู de Chaumont, Alexandre (1687). Relation de l'ambassade de Mr. le chevalier de Chaumont a la Cour du Roy de Siam. Paris: Arnould Seneuze & Daniel Horthemels.  (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  3. กี ตาชาร์ (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  4. ดู Tachard, Guy (1686). Voyage de Siam. Paris: Arnould Seneuze & Daniel Horthemels.  (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  5. ในภาษาปัจจุบัน "sculpture" หมายถึง ประติกรรม (เช่น รูปปั้น) แต่ในภาษาเก่า "sculpture" หมายถึง ภาพพิมพ์ โดยเฉพาะภาพพิมพ์จากแม่พิมพ์ที่แกะสลักขึ้น ซึ่งเรียกว่า "engraving" ดังที่ Kersey (1708, น. 580) ให้นิยามว่า "printed picture" และ Bailey (1730, น. 659) ระบุว่า "Sculpture includes both engraving and working in Relievo" (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  6. ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  7. โกลด เซเบอแร ดูว์ บูแล (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  8. การที่กล่าวว่า มีนคร 2 แห่ง คือ สยาม และละโว้ แสดงว่า ในเอกสารนี้ "สยาม" หมายถึง อยุธยา (ในฐานะที่เป็นเมืองศูนย์กลางของราชอาณาจักรอยุธยา) มากกว่าจะหมายถึงราชอาณาจักรอยุธยาโดยรวม (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)
  9. คำว่า "officer" สามารถหมายถึง เจ้าหน้าที่ทั่ว ๆ ไป หรือเจ้าหน้าที่ทางทหารชั้นผู้บังคับบัญชาก็ได้ ดังที่ Kersey (1708, น. 454) นิยามว่า "one that is in any Office; In Military Affairs, a Perſon that has ſome Command in the Company, or Troop, he ſerves in" (เชิงอรรถของวิกิซอร์ซ)