หน้า:Great & wonderful revolution in Siam (1690).pdf/8

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
5
คำนำถึงผู้อ่าน

ในนั้น และประทานให้เขาเหล่านั้นมีสภาพและความนิยมแตกต่างกันไปอย่างยิ่งแต่ครั้งที่มอบสิ่งต่าง ๆ อย่างร่างกายและวิญญาณให้แก่มนุษย์นั้น ก็คงจะทรงบันดาลให้พวกเขามีใจเดียวกันในเรื่องศาสนาใดที่จะพึงนับถือ และในเรื่องการบูชาใดที่สมกับพระองค์ที่สุด และคงจะทรงกระทำให้ชาติทั้งหลายตั้งอยู่และดับไปภายใต้กฎเกณฑ์เดียวกันไปแล้ว หากจะพอพระทัยเช่นนั้น

"ความเป็นระเบียบในหมู่มนุษย์ และความเป็นหนึ่งเดียวกันในศาสนานั้น โดยทุกประการแล้วย่อมขึ้นอยู่กับพระลิขิตของพระเป็นเจ้า ผู้ทรงสามารถนำพาสิ่งเหล่านั้นมาสู่โลกได้โดยง่ายพอ ๆ กับที่ให้มีความหลากหลายทางนิกายอันได้สถาปนาขึ้นมาในโลกทุกยุคทุกสมัย จึงไม่ควรหรือที่เราจะคิดว่า พระเป็นเจ้าที่แท้จริงย่อมทรงมองว่า การเฉลิมพระเกียรติพระองค์ด้วยการบูชาและพิธีกรรมที่ต่างกันไปนั้น เป็นความพอพระทัยใหญ่หลวง ดุจเดียวกับที่ทรงได้รับการเชิดชูจากสิ่งมีชีวิตมากมายที่ต่างฝ่ายต่างเฝ้าสรรเสริญพระองค์ตามแนวทางของตน ความงามและความหลากหลายที่เราชื่นชมอยู่ตามระเบียบของธรรมชาตินั้น เมื่ออยู่นอกเหนือระเบียบของธรรมชาติแล้ว จะน่าดูชมลดลง หรือคู่ควรกับพระปัญญาของพระเป็นเจ้าน้อยลง กระนั้นหรือ

"จะอย่างไรก็ตาม" พระองค์ตรัสต่อ "เพราะเรารู้อยู่ว่า พระเป็นเจ้านั้นทรงเป็นเจ้าสูงสุดของโลก และเราได้รับคำชี้นำว่า ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นโดยขัดต่อพระประสงค์ของพระองค์ได้ ข้าจึงขอยกกายถวายกรุงของข้าทั้งสิ้นไว้ในอ้อมพระพาหาแห่งพระเทวกรุณาและพระลิขิต และวิงวอนหมดหัวจิตหัวใจต่อพระปัญญาอันไม่รู้ดับสูญของพระองค์ว่า จงจัดการกายและกรุงของข้าให้เป็นไปตามพระกุศลเจตนาและอัธยาศัยเทอญ"

แต่แม้จะมีลายลักษณ์อักษรและคำพรรณนาถึงตัวตนและกมลนิสัยของพระองค์ทั้งหมดนี้ ข้าก็ยังมิอาจล่วงรู้ว่า พระองค์ทรงพระนามว่ากระไร จนมารู้ด้วยข้อความจดจารในสาส์นที่ทรงส่งถึงพระสันตะปาปาและถึงพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสเมื่อปี 1688 ซึ่งมีเอ่ยถึงในบันทึกการเดินทางครั้งที่สองของหลวงพ่อตาชาร์ ในราชสาส์นถึงพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสนั้น ทรงเขียนถึงพระองค์เองไว้ดังนี้

"สมเด็จพระเจ้ากรุงเทพ
พระมหานครผู้ใหญ่"
ที่