หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ

ของบางแนวคิดของ "ความยุติธรรมด้านภูมิอากาศ" เมื่อดําเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ยืนยันถึง ความสําคัญของการศึกษา การฝึกอบรม การตระหนักรู้ของประชาชน การมีส่วนร่วมของประชาชน การเข้าถึงข้อมูลของประชาชน และความร่วมมือในทุกระดับ ในประเด็นที่ระบุไว้ภายใต้ความตกลงนี้

ตระหนักถึง ความสําคัญของการดําเนินการของหน่วยงานทุกระดับของรัฐบาล และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่าง ๆ ตามกฎหมายภายในประเทศของภาคี ในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

อีกทั้งตระหนักว่า วิถีชีวิตที่ยั่งยืนและรูปแบบที่ยั่งยืนของการบริโภคและการผลิต มีบทบาทสําคัญในการแก้ไข ปัญหาการเปลี่ยนแปลงภาพภูมิอากาศ โดยภาคีประเทศพัฒนาแล้วจะเป็นผู้นํา

ได้ตกลงกันดังต่อไปนี้

ข้อ ๑

เพื่อความมุ่งประสงค์ของความตกลงนี้ ให้ใช้นิยามตามข้อ ๑ ของอนุสัญญา โดยมีนิยามเพิ่มเติม ดังนี้

(เอ) "อนุสัญญา" หมายถึง กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งได้มีการรับรอง ณ นครนิวยอร์ก เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๔๒ (พ.ศ. ๒๕๓๕)

(ปี) "ที่ประชุมรัฐภาคี" หมายถึง ที่ประชุมรัฐภาคีของอนุสัญญา

(ซี) "ภาคี" หมายถึง ภาคีของความตกลงนี้

ข้อ ๒

๑. ในการยกระดับการปฏิบัติตามอนุสัญญา รวมถึงวัตถุประสงค์ของอนุสัญญา ความตกลงนี้ มุ่งเสริมสร้างการตอบสนองระดับโลกต่อภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในบริบทของการพัฒนาที่ยั่งยืน และความพยายามในการขจัดความยากจน รวมถึงโดย

(เอ) ควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ำกว่า ๒ องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม และการมุ่งพยายามควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิไม่ให้เกิน ๑.๕ องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม โดยคํานึงว่าการดําเนินการตามนี้ จะลดความเสี่ยงและผลกระทบจากการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างมีนัยสําคัญ
(ปี) เพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวต่อผลกระทบทางลบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการส่งเสริมการสร้างภูมิต้านทานและความสามารถในการฟื้นตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการพัฒนาประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ โดยไม่กระทบต่อการผลิตอาหาร
(ซี) ทําให้เกิดเงินทุนหมุนเวียนที่มีความสอดคล้องกับแนวทางที่นําไปสู่การพัฒนาที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำและการพัฒนาให้มีภูมิต้านทานและความสามารถในการฟื้นตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
คณะทำงานเจรจาสำหรับการประชุมภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ