๓. การใช้ผลการลดก๊าซเรือนกระจกที่ถ่ายโอนระหว่างประเทศเพื่อบรรลุการมีส่วนร่วมที่ประเทศกําหนดภายใต้ความตกลงนี้ ต้องเป็นไปโดยสมัครใจและได้รับอนุญาตจากภาคีที่เข้าร่วม
๔. ให้จัดตั้งกลไกที่นําไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายใต้อํานาจและแนวทางของที่ประชุมรัฐภาคีซึ่งทําหน้าที่เป็นที่ประชุมรัฐภาคีความตกลงปารีส เพื่อให้ภาคีใช้บนพื้นฐานของความสมัครใจ กลไกดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้การกํากับดูแลขององค์กรที่ได้รับการแต่งตั้งจากที่ ประชุมรัฐภาคีซึ่งทําหน้าที่เป็นที่ประชุมรัฐภาคีความตกลงปารีส และต้องมุ่งหมายเพื่อ
- (เอ) ส่งเสริมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในขณะเดียวกันเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน
- (บี) สร้างแรงจูงใจและเอื้ออํานวยการมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยหน่วยงาน ภาครัฐและภาคเอกชนที่ได้รับอนุญาตจากภาคี
- (ซี) นําไปสู่การลดระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคีที่กิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกตั้งอยู่ ซึ่งจะได้ประโยชน์จากกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกโดยส่งผลให้เกิดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สามารถ นําไปใช้โดยอีกภาคีหนึ่งในการบรรลุการมีส่วนร่วมที่ประเทศกําหนด และ
- (ดี) ส่งผลให้เกิดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับโลกในภาพรวม
๕. การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกลไกที่กําหนดในวรรค ๔ ของข้อนี้ ต้องไม่ถูกนํามาใช้เพื่อแสดงผลสําเร็จของการมีส่วนร่วมที่ประเทศกําหนดของภาคีที่กิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกนั้นตั้งอยู่ หากนําไปใช้โดยอีกภาคีหนึ่งในการแสดงผลสําเร็จของการมีส่วนร่วมที่ประเทศกําหนดของตน
๖. ที่ประชุมรัฐภาคีซึ่งทําหน้าที่เป็นที่ประชุมรัฐภาคีความตกลงปารีสต้องทําให้มั่นใจว่าส่วนแบ่งของเงินที่ได้จากกิจกรรมภายใต้กลไกที่กําหนดในวรรค ๔ ของข้อนี้ ได้นําไปใช้เพื่อครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการบริหาร จัดการ และเพื่อช่วยเหลือภาคีประเทศกําลังพัฒนาที่มีความเปราะบางอย่างยิ่งต่อผลกระทบทางลบจาก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อใช้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการปรับตัว
๗. ที่ประชุมรัฐภาคีซึ่งทําหน้าที่เป็นที่ประชุมรัฐภาคีความตกลงปารีสต้องรับรองกฎ รูปแบบ และกระบวนการขั้นตอนสําหรับกลไกที่กําหนดในวรรค ๔ ของข้อนี้ ในการประชุมสมัยที่ ๑
๘. ภาคีตระหนักถึงความสําคัญของการมีแนวทางที่ไม่ใช้ตลาดที่บูรณาการ เป็นองค์รวม และสมดุล ให้แก่ภาคี เพื่อช่วยเหลือในการดําเนินงานการมีส่วนร่วมที่ประเทศกําหนดของตน ในบริบทของการพัฒนาที่ยั่งยืนและการขจัดความยากจน ในลักษณะที่มีการประสานงานร่วมกันและมีประสิทธิผล รวมถึงผ่าน ในบรรดาสิ่งทั้งหลาย (inter alia) การลดก๊าซเรือนกระจก การปรับตัว การเงิน การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการเสริมสร้างศักยภาพ ตามความเหมาะสม แนวทางเหล่านี้ต้องมุ่งหมายเพื่อ
- (เอ) ส่งเสริมความพยายามในการลดก๊าซเรือนกระจก และการปรับตัว
- (บี) ยกระดับการมีส่วนร่วมของภาครัฐและภาคเอกชนในการดําเนินงานการมีส่วนร่วมที่ประเทศกําหนด และ
- (ซี) สร้างโอกาสในการประสานความเชื่อมโยงระหว่างเครื่องมือต่าง ๆ และการจัดการเชิงสถาบันที่ เกี่ยวข้อง