หน้า:Public Prosecutor & Pratyaphat v Sakhonrat (2003) FULLTEXT-TH.pdf/8

หน้านี้ได้พิสูจน์อักษรแล้ว
 (๓๑ ทวิ)
สำหรับศาลใช้
 
ตราครุฑ
ตราครุฑ
– ๘ –

แก้จากความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๘๙ (๔) มาเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๘๙ (๔) และ ๒๘๙ (๕) และยังคงจำคุกตลอดชีวิต เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกิน ๕ ปี คดีต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๑๘ วรรคสอง ข้อห้ามฎีกาดังกล่าวนี้ย่อมใช้บังคับโจทก์ร่วมด้วย เพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒ (๑๔) ได้นิยามศัพท์คำว่า "โจทก์ หมายความถึง พนักงานอัยการ หรือผู้เสียหาย ซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาล หรือทั้งคู่ในเมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน" ที่โจทก์ร่วมฎีกาว่า จำเลยควรได้รับโทษประหารชีวิต ศาลล่างทั้งสองไม่ควรลดโทษให้จำเลย เพราะคดีไม่มีเหตุบรรเทาโทษนั้น ล้วนเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงทั้งสิ้น จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ร่วมฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาของโจทก์ร่วมมา ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

สำหรับปัญหาตามฎีกาของจำเลยข้อแรกว่า จำเลยฆ่าผู้ตายโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้ายหรือไม่นั้น เห็นว่า ปืนเป็นอาวุธโดยสภาพมีอำนาจทำลายล้าง